กระท่อมดีอย่างไร
วันนี้ สุขภาพดีดี.com จะมาอธิบายให้ทุกคนได้เห็นภาพว่า กระท่อมดีอย่างไร กันค่ะ และถึงแม้ว่ากระท่อมจะมีประโยชน์ แต่ก็มีโทษเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นควรจะศึกษาให้ดีก่อนรับประทานค่ะ มาเริ่มกันที่ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมออกมาประกาศ ปลดล็อกให้ “พืชกระท่อม” ได้รับการปลดล็อกออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 และไม่เป็นยาเสพติดให้โทษอีกต่อไป และมีผลเริ่มบังคับใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2564 เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 โดยให้ถือว่าประชาชนสามารถปลูกพืชกระท่อมได้อย่างเสรี หรือจะบริโภคก็สามารถทำได้ จึงทำให้หลายคนเริ่มสนใจประโยชน์ของ ” ใบกระท่อม “ ซึ่งแต่เดิมเป็นพืชสมุนไพรในท้องถิ่นที่มีสรรพคุณทางยาช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ได้
เบื้องต้นรายละเอียดสาระสำคัญการบังคับใช้กฎหมายคือให้ผู้ที่ปลูกกระท่อมไว้ครอบครองสามารถซื้อ ขาย หรือนำมาบดเคี้ยวได้ และปลูกต้นกระท่อมเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ยังสามารถขยายไปถึงการสามารถส่งขายเป็นพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม โดยไม่ต้องขออนุญาต
และในอนาคตต่อจากนี้จะมีการออกกฎหมายรองตามมา ซึ่งจะมีบทบัญญัติเพิ่มเติมที่มีใจความสำคัญเกี่ยวกับกฎและข้อบังคับการอนุญาตขายในสถานที่และบุคคลต่างๆ เช่น การกำหนดห้ามขายให้แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นเยาวชน รวมถึงสตรีมีครรภ์ และเตรียมกำหนดสถานที่ห้ามขาย เช่น ในโรงเรียน วัด ส่วนประเภทธุรกิจการส่งออกหรือนำเข้านั้นจะต้องขออนุญาต
กระท่อมคืออะไร? |
กระท่อม (ภาษาอังกฤษ Kratom, ชื่อวิทยาศาสตร์ Mitragyna speciosa) เป็นไม้ยืนต้นที่นิยมเพาะปลูกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งในประเทศไทยพบมากในพื้นที่ภาคกลาง และพื้นที่ป่าธรรมชาติของภาคใต้ที่มีอย่างแพร่หลาย เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
ส่วนใบของพืชกระท่อม หรือใบกระท่อม ถูกใช้เป็นยาสมุนไพรในท้องถิ่นมาช้านาน ซึ่งเดิมชาวบ้านจะนำใบกระท่อมมาเคี้ยวสด หรือนำมาตำน้ำพริกกินกับผักสด เพื่อทำให้รู้สึกมีเรี่ยวแรง มีกำลัง และรู้สึกกระปรี้กระเปร่า เนื่องจากพืชกระท่อมจะออกฤทธิ์คล้ายกับแอมเฟตามีน กระตุ้นประสาทให้ทำงานได้มากขึ้น
กระท่อมมีกี่สายพันธุ์? |
กระท่อมที่พบในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ แตงกวา (ก้านเขียว) ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่) และก้านแดง
1. กระท่อมพันธุ์ก้านเขียว
2. กระท่อมพันธุ์ก้านแดง
3. กระท่อมพันธุ์ใบใหญ่
ประโยชน์ของกระท่อม |
จากงานวิจัยพบว่าในใบกระท่อมทำปฏิกิริยากับร่างกายมีผลต่อเซลล์ประสาทบางชนิดในร่างกายในการรับรู้ความเจ็บปวดถูกนำมาใช้รักษาอาการเหล่านี้
- บรรเทาอาการรเจ็บปวดในร่างกาย เช่น ผลจากการบาดเจ็บทางร่างกาย เนื้อเยื่อ ปวดหลัง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น อาการปวดที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม มะเร็ง เบาหวาน โรคข้ออักเสบ เป็นต้น
- ช่วยให้มีสมาธิและระงับประสาท
- ช่วยทำให้นอนหลับง่ายขึ้น
- ช่วยให้ทำงานทน มีกำลัง และไม่หิวง่าย
- ช่วยแก้ปวดเมื่อยร่างกาย
- ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก
- บรรเทาอาการท้องเสีย ท้องร่วง
- บรรเทาอาการปวดฟัน
- บรรเทาอาการไอเรื้อรัง
- ใช้บำบัดผู้ติดยาเสพติด
ผลข้างเคียงของกระท่อม |
หากใช้กระท่อมในปริมาณที่มากเกินไป อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ตามมาได้ ดังนั้นการใช้กระท่อมควรมีข้อระวังในการใช้งาน และผู้ใช้ควรสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
- ความอยากอาหารลดลง
- น้ำหนักลด
- ปัสสาวะบ่อย ปากแห้ง ร่างกายขาดน้ำ
- เหงื่อออกง่าย และคันตามตัว
- แพ้แดด ไม่สู้แสง
- มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
- หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ตกใจง่าย
- นอนไม่หลับและตื่นตัวตลอดเวลา
- กระวนกระวายและสับสน
- วิตกกังวล และเห็นภาพหลอน
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด