กล่องเสียงอักเสบ อันตรายของคนใช้เสียง

  • Last modified on:2 ปี ago
  • Reading Time:1Minute
  • Post Words:3Words
  • PostView Count:101Views

กล่องเสียงอักเสบ อันตรายของคนใช้เสียง

              หลายๆอาชีพที่ต้องใช้เสียงในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นนักร้อง นักแสดง Call Center หรือ พิธีกร นักจัดรายการต่างๆ พวกนักพากย์ พวกเค้าเหล่านี้ ทำงานที่ต้องใช้เสียงมาก และเสี่ยงต่อการเป็นกล่องเสียงอักเสบ ทั้งแบบเรื้อรัง และเฉียบพลัน ซึ่งถ้าปล่อยไว้นาน ไม่รักษา หรือ ไม่ดูแล อาจจะเป็นปัญหาสุขภาพที่แย่ตามมาค่ะ เเล้วจะเสียทั้งงาน เสียทั้งสุขภาพ วันนี้ สุขภาพดีดี จะพามาทำความรู้จักกับ ภาวะ กล่องเสียงอักเสบ อันตรายของคนใช้เสียง

กล่องเสียงอักเสบ แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน และ ระยะเรื้อรัง

กล่องเสียงอักเสบชนิดเฉียบพลัน จะเกิดจากเหตุผลต่างๆเหล่านี้

  • ติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย
  • ใช้เสียงมากเกินไปหรือใช้เสียงผิดวิธี การตะโกน หรือ การดัดเสียง เลียนแบบเสียงต่าง มีโอกาสทำให้เกิดการอักเสบของกล่องเสียงทั้งนั้น
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

กล่องเสียงอักเสบชนิดเรื้อรัง ที่มักมีอาการมากกว่า 2 สัปดาห์

  • มลพิษทางอากาศ ทั้งฝุ่น ทั้งควัน เหล่านี้ล้วนไม่ดีต่อเส้นเสียง
  • เกิดติ่งเนื้อหรือตุ่มเล็ก ๆ ที่เส้นเสียง จากการระคายเคืองกล่องเสียงมาเป็นระยะเวลาประมาณนึง
  • ใช้เครื่องพ่นยาทางจมูกติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ไออย่างเรื้อรัง

อาการที่บ่งบอกว่า..กล่องเสียงของคุณอักเสบ

  • เสียงแหบ เสียงหาย
  • ไอเรื้อรัง เเละอาจรุนเเรงถึงขั้นไอเป็นเลือด
  • เจ็บคอ ขณะเปล่งเสียง
  • พูดไม่ชัด เเบบที่เสียงออกมาจากลำคอ เเล้วไม่มีความชัดถ้อย ชัดคำ 
  • มีอาการไข้
  • มีเสมหะ

การป้องกันกล่องเสียงอักเสบ

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ถ้าเป็นไปได้ ให้ดื่มน้ำในอุ่น หรือ น้ำอุณหภูมิห้อง เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนกล่องเสียง โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้เสียงในการทำงานมากกว่าคนอื่น 
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการสูดดมควันบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ใส่หน้ากากอนามัย
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
  • หลีกเลี่ยงการตะโกน หรือพูดเสียงดัง พยายามควบคุมเสียงให้อยู่ในภาวะปกติอยู่เสมอ 
  • หลีกเลี่ยงการดัด หรือ เปล่งเสียงที่ไม่เป็นธรรมชาติ 
  • รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก รพ.เพชรเวช

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 0 / 5. Vote count: 0