น้ำมันมะพร้าวต้านมะเร็ง

  • Last modified on:2 ปี ago
  • Reading Time:2Minutes
  • Post Words:55Words
  • PostView Count:190Views

น้ำมันมะพร้าวต้านมะเร็ง

                น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันที่ได้จากไขมันในเนื้อสีขาวของลูกมะพร้าว โดยอาจผลิตด้วยกระบวนการที่แตกต่างหลากหลาย บางผลิตภัณฑ์ใช้คำว่าน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Virgin Coconut Oil) ซึ่งหมายถึงน้ำมันมะพร้าวที่สกัดโดยใช้กระบวนการธรรมชาติ เช่น ปราศจากสารฟอกสี การระงับกลิ่น หรือการกลั่น และบางครั้งระบุว่าใช้กระบวนการสกัดเย็น อันเป็นวิธีใช้เครื่องสกัดที่จะทำให้เกิดความร้อนตามธรรมชาติไม่เกิน 49 องศาเซลเซียส ซึ่งการที่นำไปสกัดเย็นนั้นจะทำให้คุณภาพของมะพร้าวนั้นยังอยู่ครบ และคงคุณภาพไว้อย่างดีได้

 

                เราคงจะพอทราบกันมาบ้างว่าน้ำมันมะพร้าวนั้นมีประโยชน์หลากหลายด้านไม่ใช่เพียงแต่เพื่อรับประทานเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้กับร่างกายได้เช่นเดียวกัน เช่น การนำมาทาผิวเพิ่มความชุ่มชื้น เป็นต้น แต่รู้หรือไม่ว่า น้ำมันมะพร้าวที่เราเห็นกันทั่วไปนั้น สามารถต้านมะเร็งได้เช่นเดียวกัน เพราะว่าอะไร? ต้านได้จริงไหม? วันนี้ สุขภาพดีดี.com ได้รวบรวมข้อมูลดีดี มาให้ทุกคนได้อ่านกันแล้วค่ะ ในหัวข้อของ น้ำมันมะพร้าวต้านมะเร็ง

 

 

                ซึ่งหากวิเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์ระบุว่า น้ำมันมะพร้าวสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ซึ่งอาจจะเป็นมะเร็งบางชนิดเท่านั้น จากการวิจัยทางการแพทย์ พบว่าน้ำมันมะพร้าวมีสารต่อต้านมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งบทบาทของน้ำมันมะพร้าวในการป้องกันโรคมะเร็ง น้ำมันมะพร้าวมีบทบาทในการต้านมะเร็ง ดังนี้

 

น้ำมันมะพร้าวไม่ก่อให้เกิด Trans Fats

                Trans Fats หรือน้ำมันไม่อิ่มตัว ที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ขนมปังกรอบ อาหารทอด โดนัท บิสกิต  คุกกี้จำเป็นที่ต้องนำไปสู่ขบวนการเติมไฮโดรเจน (hydrogenation) เสียก่อน เพื่อให้น้ำมันแข็งตัว เพื่อสะดวกต่อการบริโภค ส่วนน้ำมันไม่อิ่มตัวที่ใช้ในการหุงต้ม หากผ่านอุณหภูมิสูง เช่น ในการทอดอาหาร ก็จะเกิดขบวนการเติมไฮโดรเจนเช่นกัน จาการวิจัยพบว่า การเติมไฮโดรเจน นำไปสู่การเกิด trans fatty acids หรือ tran fats ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (Enig 1996) โดยเฉพาะก่อให้เกิดโรคมะเร็ง มีการวิจัยหลายชิ้นที่แสดงว่า antioxidants สามารถต่อต้านการเกิดมะเร็งที่เกิดจากอนุมูลอิสระ

 

                จากการศึกษาหลายชิ้น แสดงว่า น้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนกระตุ้นให้เกิดมะเร็ง เพราะมันสร้างอนุมูลอิสระจำนวนมาก ที่ไปโจมตี DNA ของเซล (Hopkins และคณะ 1981) เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวทำหน้าที่เป็น antioxidation และการเกิด (peroxidation) มันจึงช่วยป้องกันมะเร็งได้ เนื่องจากน้ำมันอิ่มตัวมีความอยู่ตัวทางเคมี และมีความต้านทานสูงต่อการเกิด peroxidation และลดการหืน (rancidity) มันจึงช่วยป้องกันน้ำมันไม่อิ่มตัว ไม่ให้เกิดการหืน น้ำมันมะพร้าว ซึ่งมีประสิทธิภาพ เพราะมันช่วยต่อต้านไม่ให้เกิด peroxidation ไขมันอิ่มตัว และการทำร้ายเซล

 

                เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันอิ่มตัวจึงไม่เกิดการเติมไฮโดรเจนเมื่อถูกกับอุณหภูมิสูง จึงไม่เปลี่ยนเป็น trans fats ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ดังนั้นน้ำมันมะพร้าว จึงปลอดภัยสำหรับใช้บริโภคโดยเฉพาะไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

 

ต่อต้านอนุมูลอิสระ

                หากพูดถึงน้ำมันธรรมดาที่เราใช้กันในท้องตลาด น้ำมันไม่อิ่มตัวยังเกิดอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งเกิดโรคมะเร็งด้วย แต่น้ำมันมะพร้าว ซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวที่อยู่ตัว แม้จะถูกกับอุณหภูมิสูง ก็ไม่เกิดอนุมูลอิสระ จึงเป็นน้ำมันที่ปลอดภัยสำหรับการโภค

 

                นอกจากนั้น น้ำมันมะพร้าวยังมีวิตามินอี ในรูป tocotrienol ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่า tocopherol ที่มีอยู่ในวิตามินอีทั่วไป 30-60 เท่า วิตามินอี ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านการเติมออกซิเจน (oxidation) จึงต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมีการเติมออกซิเจน ดังนั้น จึงนับได้ว่า น้ำมันมะพร้าว มีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอนุมูลอิสระนั้นเป็นตัวการหนึ่งของการเกิดมะเร็ง 

 

สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้

                คนเราทุกคนมีเซลมะเร็งอยู่ในร่างกาย แต่ที่เราไม่เป็นมะเร็ง ก็เพราะมีภูมิคุ้มกัน และเราจะเป็นมะเร็งก็ต่อเมื่อระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายจนไม่สามารถต่อสู้กับเซลมะเร็งทุกชนิดได้ (Holleb 1986) แม้ว่าเราจะมีสารก่อมะเร็งอยู่ในร่างกาย แต่ถ้าภูมิคุ้มกันของเรายังทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเราก็จะไม่เป็นมะเร็ง ดังนั้นภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจึงเป็นกุญแจสำคัญในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง

 

                เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็ง นักวิจัยบางคนจึงเชื่อว่าเป็นเพราะไขมันขนาดกลางของน้ำมันมะพร้าว ไปส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย Witcher และคณะ (1996) ได้เป็นผู้ทดสอบสมมุติฐานนี้ และพบว่าโมโนลอริน ซึ่งเป็นโมโนกลีเซอไรด์ของกรดลอริก ไปกระตุ้นการผลิตเซลเม็ดเลือดขาวโยเฉพาะ T เซล และ T เซลนี้เอง ไปโจมตีและทำลายทุกสิ่งที่แปลกปลอมของร่างกาย รวมทั้งเซลมะเร็ง ดังนั้น T เซล จึงมีบทบาทอย่างสำคัญในการต่อสู้มะเร็ง น้ำมันมะพร้าว มีกรดลอริกอยู่ในปริมาณที่สูงมาก (ประมาณ 48-55%) และเมื่อบริโภคเข้าไปในร่างกาย กรดลอริก ก็จะเปลี่ยนเป็นโมโนลอรินซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

 

น้ำมันมะพร้าวต้านมะเร็งอะไรได้บ้าง? 

 

1.มะเร็งลำไส้ น้ำมันมะพร้าวล้วนๆ มีผลชงักการเจริญเติบโตของมะเร็งลำไส้ ที่ กระตุ้นด้วยสารก่อมะเร็ง ได้ดีกว่าน้ำมันไม่อิ่มตัว เช่นน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก ฯลฯ

  • ปริมาณของสาร adenocarcinomas ในลำไส้ของสัตว์ที่กระตุ้นทางเคมี มีความแตดต่างกัน 10 เท่า ระหว่างการใช้น้ำมันข้าวโพด (32%) กับน้ำมันมะพร้าว (3%)
  • ทั้งน้ำมันมะกอก และน้ำมันมะพร้าว ต่างก็สร้าง adenocarcinomas ในระดับต่ำเท่ากันคือ 3% แต่ในสัตว์ทดลองที่มีลำไส้เล็กที่เลี้ยงด้วยน้ำมันมะพร้าว ไม่เกิดเนื้องอก ในขณะที่สัตว์ทดลองที่เลี้ยงน้ำมันมะกอกเกิดเนื้องอก 7%
  • น้ำมันไม่อิ่มตัวเหล่านี้ มีกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลมะเร็งเพราะเนื้อร้ายเกิดขึ้นในน้ำมันพืชทุกชนิดนอกจากในน้ำมันมะพร้าวขนาดและจำนวนเนื้อร้ายเกิดขึ้นในสัตว์ทดลองที่เลี้ยงด้วยน้ำมันข้าวโพด และน้ำมันดอกคำฝอย มากกว่าที่เลี้ยงด้วยน้ำมันมะพร้าว 

 

2.มะเร็งเต้านม 

                มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าน้ำมันมะพร้าว ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมของสัตว์ทดลองจากสารก่อเกิดมะเร็งที่ใส่ในอาหารของมัน กรณีศึกษายังได้พบว่าน้ำมันมะพร้าวมีประสิทธิภาพในมนุษย์ด้วย โดยแสดงให้เห็นว่าน้ำมันมะพร้าว สามารถต่อต้านสารก่อมะเร็งที่มีอยู่ในอาหาร และสิ่งแวดล้อม

                จากผลวิจัยของ Cohen และคณะ (1984,1986,1987) แสดงให้เห็นถึงผลของน้ำมันมะพร้าว ในการชงักการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านม ที่ถูกกระตุ้นทางเคมี ในขณะที่น้ำมันอื่นไม่ได้ชงักเลย ในกรณี การเพิ่มเพียงเล็กน้อยของคอเลสเทอรอล ในกระแสเลือดในสัตว์ทดลอง ที่เลี้ยงด้วยน้ำมันมะพร้าว มีผลต่อต้านมะเร็ง เมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน น้ำมันมะพร้าว มีผลในการไปลดคอเลสเทอรอลรวมในกระแสเลือดและเกิดเนื้องอกมากกว่า

 

3. มะเร็งผิวหนัง

                เนื่องจากน้ำมะพร้าว มีวิตามินอีในรูปของโทโคไทรอีนอล ซึ่งมีอานุภาพสูง จึงทำหน้าที่เป็น antioxidant ต่อต้านการเติมออกซิเจนได้ดี สามารถอนุมูลอิสระ ที่ทำให้เกิดแห่งความเสื่อม (degenerative) มากมายรวมทั้งโรคมะเร็งผิวหนัง

4. มะเร็งตับ

                จากการศึกษาของ Bulatano-Jayme และคณะ (1976) พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างอุบัติการณ์ของมะเร็งตับ กับปริมาณการบริโภคข้าวโพดทั้งนี้เพราะข้าวโพด มักจะมีสารแอฟลาทอกซินซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งตับ แต่การบริโภคมะพร้าวและน้ำมันมะพร้าวสามารถป้องกันตับไม่ให้เกิดมะเร็งที่เกิดจากผลของแอฟลาทอกซิน

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 0 / 5. Vote count: 0