ประโยชน์และโทษกัญชา

  • Last modified on:2 ปี ago
  • Reading Time:2Minutes
  • Post Words:26Words
  • PostView Count:491Views

 

ประโยชน์และโทษกัญชา

           คุณมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยเกษตรฯ แถลงใน งานมหกรรมกัญชาบุรีรัมย์ ฐานทัพใหญ่ของ พรรคภูมิใจไทย ว่า วันที่ 16 มิถุนายน มะรืนนี้ กรมวิชาการเกษตรจะแจกต้นกัญชาให้ประชาชนจำนวน 1 ล้านต้น ประมาณ 500,000 ครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนที่สนใจนำไปปลูกครัวเรือนละ 2 ต้น

 

           ขณะเดียวกัน อย.รายงานว่า ณ เวลา 12.00 น. วันที่ 11 มิถุนายน หลังปลดล็อกกัญชา เสรีสองวันเศษ มีผู้ลงทะเบียนปลูกกัญชาแล้ว 614,891 คน มีการออกใบรับรองการจดแจ้งแล้ว 595,964 ใบ แต่มีการจดแจ้ง “กัญชง” (พืชเศรษฐกิจ) เพียง 18,932 ใบ จากผู้เข้าเว็บกว่า 32.4 ล้านครั้ง

           แม้ว่ากัญชาจะมีประโยชน์ในการรักษาโรคได้แต่อย่างไรก้ตามก็สามารถรักษาโรคได้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น และต้องใช้อย่างระมัดระวัง และแม้ว่ากัญชาถูกนำมาใช้ทางการแพทย์มานานแล้ว แต่คนส่วนใหญ่อาจยังไม่ทราบรายละเอียดว่า ส่วนประกอบไหนของกัญชาที่สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้ รวมถึงการใช้อย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดโทษ หรือผลข้างเคียงต่อร่างกาย เนื่องจากกัญชายังถูกมองว่าเป็นยาเสพติดได้เช่นกัน

 

           วันนี้ สุขภาพดีดี.com ได้ตระหนักถึง ประโยชน์และโทษกัญชา ที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค จึงได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลดีดี เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของกัญชา ให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกันค่ะ มาเริ่มกันที่ ประโยชน์ของกัญชากันก่อนว่ามีอะไรบ้าง

 

ประโยชน์ของกัญชาต่อโรคต่างๆ

           🌿 โรคลมชัก การใช้สารสกัดน้ำมันกัญชา (Cannabis Extracts) หรือ การใช้สารสกัดจากกัญชาที่เรียกว่า Cannabidiol (CBD) ช่วยให้ผู้ป่วย มีอาการชักลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์และมีความถึงเครียดลดลง  งานวิจัยยังพบว่า ผู้ป่วยมีความทรงจำที่ดีขึ้น มีสมาธิและจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น สมองมีการพัฒนามากขึ้น สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดีขึ้น และนานหลับได้ง่ายขึ้น งานวิจัยยังพบอีกว่า การใช้สารสกัดน้ำมันกัญชา ไม่มีผลข้างเคียงอื่น ๆ กับผู้ป่วยโรคลมชัก 

          🌿 โรคมะเร็ง  จากการศึกษาวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งและได้รับผลข้างเคียง จากทำเคมีบำบัดสารสกัดจากกัญชา สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดอาการปวดและเพิ่มความอยากอาหาร และเพิ่มน้ำหนักตัวให้ผู้ป่วย และทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ง่ายขึ้น  แม้ในขณะนี้จะไม่มีการทดลองแบบควบคุมทางมในมนุษย์ แต่ผลการวิจัยในสัตว์ทดลองก็แสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากกัญชามีฤทธิ์ ยับยั้ง และทำลายเซลล์มะเร็งได้ อีกทั้งยังมีการศึกษาวิจัยแบบเปิด ที่สอบถามจากกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง และได้ผลวิจัยว่าสารสกัดกัญชา มีประสิทธิภาพอย่างมากในผู้ป่วยบางกลุ่ม

          🌿 โรคอัลไซเมอร์  จากงานวิจัยพบว่าการใช้สารสกัดน้ำมันกัญชา หรือการใช้ยา ช่วยให้มีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ลดลง เช่น อาการหลงผิด อาการเฉยเมยไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ทั้งนี้ผู้ป่วยยังสามารถรับประทานอาหารได้ดีขึ้น โกรฑหงุดหงิดง่ายน้อยลงอีกทั้งยัง ทำให้ผู้ดูแลมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นด้วย 

          🌿 ระงับอาการปวด  จากงานวิจัยพบว่า ระดับความเข้มข้นของสาร tetrahydrocannabinol  มีผลอย่างมีนัยสำคัญ กับการระงับอาการปวด ไม่มีจะเป็นการปวดจากการบาดเจ็บ ที่กระดูกสันหลังหรืออาการปวดที่เป็นผลข้างเคียงจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคพาร์กินสัน และโรคปลอกประสาทอักเสบ   จากการศึกษา ที่กลุ่มเปรียบเทียบได้รับสารเลียบแบบไม่ออกฤทธิ์พบว่าผู้ที่ได้รับสารสกัดจากกัญชา มีอาการเจ็บปวดลดลงอย่างชัดเจน

          🌿 โรคปลอกประสาทอักเสบ จากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคปลอกประสาทอักเสบ เมื่อได้รับสารสกัดจากกัญชา หรือตัวยา Sativexสามารถช่วยลดอาการปวดเส้นประสาท อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ อาการหดตัวของกล้ามเนื้อ และภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ หรืออาการเซ

 

** ข้อแนะนำและข้อควรระวัง ** 
  • ในกรณีที่รับประทานมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการประสาทหลอน มีอาการชัก ตาลาย หรือกลายเป็นเสพติด
  • สตรีที่รับประทานมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการตกขาว
  • การเสพกัญชาแม้เพียงระยะสั้น ผู้เสพบางรายอาจสูญเสียความทรงจำได้ เพราะกัญชาจะทำให้สมองและความจำเสื่อม เกิดความสับสน วิตกกังวล และหากผู้เสพเป็นผู้ที่มีอาการทางจิตด้วยแล้ว ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติทั่วไป
  • การสูบบุหรี่ยัดไส้กัญชาเพียง 4 มวน จะเท่ากับการสูบบุหรี่ 20 มวน หรือ 1 ซอง มันจึงสามารถทำลายการทำงานของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่ธรรมดาถึง 5 เท่า
  • ผู้ชายหากรับประทานมากเกินไปจะทำให้น้ำกามเคลื่อน กัญชายังมีฤทธิ์ทำลายความรู้สึกทางเพศ ทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในชายลดลง ทำให้ปริมาณอสุจิน้อยลง ผู้เสพจึงมักมีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • การเสพกัญชาเป็นระยะเวลานาน จะนำมาซึ่งภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงและก่อให้เกิดความผิดปกติของหัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว มีความผิดปกติทางสมองจนก่อให้เกิดอาการทางจิตประสาทตามมา

 

โทษของกัญชา

 

           ผศ. นพ. สหภูมิ ศรีสุมะ  ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี และภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า สารสกัดจากกัญชามี 2 ชนิดหลัก คือ THC และ CBD พืชกัญชาส่วนใหญ่มี THC สูงกว่า CBD สามารถสกัดแยกด้วยกระบวนการในห้องปฏิบัติการเท่านั้น นอกจากนี้ยังย้ำอีกว่า การใช้กัญชาเองโดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแล และคำแนะนำของแพทย์ เสี่ยงเกิดโทษต่อร่างกายมากกว่าเป็นผลดี

 

โทษของสาร THC : หากมีการนำสาร THC จากกัญชามาใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ระมัดระวังในการใช้ อาจทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ ดังนี้อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการโรคจิตเภท โดยเฉพาะสําหรับผู้ที่มี ปัจจัยเสี่ยงเช่น ผู้ที่มีปัญหาโรคจิตในครอบครัว หรือพันธุกรรม ผู้ป่วยโณคจิตจากสารเสพติดและแอลกอฮอล์ เป็นต้นหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะชลอการทํางานของสมองและทําให้สมองหยุดสร้างสารเคมีที่ทําให้รู้สึกดี และทําให้รู้สึกหงุดหงิดง่ายเวลาไม่ได้ใช้ มีผลต่อการพัฒนาในด้านลบของสมองที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ กัญชาจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาสมองของเยาวชน

  • เมา หลอนประสาท
  • เสพติด และอาจเพิ่มอัตราการฆ่าตัวตาย
  • อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้น
  • หากได้รับในปริมาณสูง อาจเกิดภาวะเป็นพิษ และอาการผิดปกติได้

 

โทษของสาร CBD : หลายสรรพคุณจากกัญชาที่ยังหาข้อสรุปที่ชัดเจนไม่ได้ และยังไม่ควรใช้ในปัจจุบัน เพราะยังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัย 

  • อาจมีผลต่อจิตประสาท กดประสาทและผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆ
  • อาจแสดงผลออกมาเมื่อถูกตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย (drug test)
  • อาจมีกลิ่นและรสชาติตามธรรมชาติที่แรง
  • ส่งผลต่อระบบประสาทและสมอง
  • หลอน
  • สมองเสื่อม
  • ต้อหิน

 

ที่มาข้อมูล : “กัญชา” มากประโยชน์ ก็ใช่ว่าจะไม่มีโทษ

ประโยชน์ และโทษของกัญชา

“กัญชา” กับการแพทย์ ประโยชน์ และโทษที่ควรรู้ก่อนใช้

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 4.3 / 5. Vote count: 6