ผลเสียของการนอนดึกตื่นสาย

  • Last modified on:3 ปี ago
  • Reading Time:1Minute
  • Post Words:31Words
  • PostView Count:206Views

ผลเสียของการนอนดึกตื่นสาย

           ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้เราจำเป็นที่จะต้องรักษาระยะห่างและหยุดเชื้ออยู่บ้านกันเป็นเวลานาน และทำให้เราเคยชินกับการ work from home ที่ทำให้ตารางเวลาของเรานั้นยืดหยุ่นได้มากขึ้น ถึงแม้ว่าการทำงานที่สามารถยืดหยุ่นได้จะเป็นประโยชน์กับคนรุ่นใหม่ เนื่องจากสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทำงานมากขึ้น ทำให้เวลาของการพักผ่อนนั้นลดลง รวมไปถึงการนอนดึกและตื่นสาย ซึ่งจะส่งผลเสียกับร่างกายในระยะยาว วันนี้ สุขภาพดีดี.com ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ผลเสียของการนอนดึกตื่นสาย มาให้ทุกท่านได้อ่านกันค่ะ

 

           อ้างอิงจากงานศึกษาของทีมวิจัย University of Surrey และ Northwestern University ทำการศึกษาเกี่ยวกับการนอนดึกและตื่นสาย

 

           ซึ่งทีมวิจัยให้ความสำคัญกับอัตราการเผาผลาญของร่างกาย โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด แต่ในงานวิจัยนี้มีความพิเศษเนื่องจากให้ความสำคัญไปถึงความเสี่ยงในการเสียชีวิต

 

           โดยศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างการใช้ชีวิตของผู้ร่วมการทดลองจำนวนทั้งหมด 433,268 คน อายุระหว่าง 38 ถึง 73 ปี และใช้ระยะเวลาในการทดลองถึง 6 ปีครึ่ง ติดตามการเสียชีวิตในกลุ่มตัวอย่าง และพบว่า 50,000 คน

 

           มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิต และยังพบว่าหลายคนมีปัญหาด้านสุขภาพที่หลากหลาย เช่น โรคเบาหวาน, โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า และโรคทางระบบประสาท

 

           Kristen Knutson ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาจาก Northwestern University Feinberg School of Medicine กล่าวไว้ว่า

 

           💥“นาฬิการ่างกายของคนที่นอนดึกตื่นสาย จะไม่เหมือนคนปกติ เนื่องจากมีการรับประทานอาหารในเวลาที่ไม่ถูกต้อง ออกกำลังกายไม่เพียงพอ และที่สำคัญคือนอนหลับไม่เพียงพอ”💥

 

           สามารถกล่าวได้ว่าคนที่นอนดีกตื่นสายถึงมีปัญหาสุขภาพมากขึ้น แต่เป็นไปได้ว่าการนอนดึกทำให้มีโอกาสดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติดมากขึ้น สำหรับบางคนการตื่นนอน ตอนที่คนอื่นหลับอาจทำให้รู้สึกเหงา และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจส่งผลเกี่ยวข้องกับนาฬิการ่างกายของเราด้วย

เมื่อนาฬิกาของร่างกายไม่ปกติ ทำให้ระบบในร่างกายผิดปกติไปด้วย

 

          เมื่อนาฬิการ่างกายพัง ระบบในร่างกายก็จะได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับ ระบบการย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน ระดับฮอร์โมนในร่างกาย รวมทั้งรบกวนการทำงานของ Circadian ที่มีผลต่อวงจรการตื่นนอน การปล่อยฮอร์โมนพฤติกรรมการกิน และการย่อยอาหาร อุณหภูมิของร่างกาย และการทำงานของร่างกายที่สำคัญอื่นๆ

 

           นาฬิการ่างกายที่ทำงานเร็ว หรือช้ากว่าปกติ อาจส่งผลให้จังหวะ Circadian หยุดชะงักหรือผิดปกติ จังหวะที่ไม่สม่ำเสมอเชื่อมโยงกับภาวะสุขภาพเรื้อรังต่างๆ เช่น ความผิดปกติของการนอนหลับ, โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคซึมเศร้า, โรคอารมณ์สองขั้ว 

 

           นื่องจากนาฬิการ่างกายเชื่อมโยงกับฮอร์โมนที่เรียกว่า เมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งช่วยให้ร่างกายหลับสนิท แสงและความมืดส่งผลต่อการสร้างเมลาโทนินของร่างกาย เมลาโทนินส่วนใหญ่ทำงานในเวลากลางคืน ในระหว่างวันแสงจะส่งผลให้ร่างกายสร้างเมลาโทนินน้อยลง หากคุณทำงานกลางคืนในแสงไฟร่างกายอาจสร้างเมลาโทนินน้อยกว่าที่ต้องการ ดังนั้นเราควรใส่ใจกับการนอนให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 0 / 5. Vote count: 0