ฝีดาษลิง คืออะไร

  • Last modified on:2 ปี ago
  • Reading Time:2Minutes
  • Post Words:21Words
  • PostView Count:487Views

 

ฝีดาษลิง คืออะไร

               โรคฝีดาษลิง ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “monkeypox”  ล่าสุดองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดการประชุมฉุกเฉินเพื่อหารือเกี่ยวการการระบาดของโรคฝีดาษลิง โดยยืนยันว่าเบื้องต้นพบผู้ป่วยแล้วอย่างน้อย 80 ราย และอีก 50 รายที่น่าสงสัยอยู่ระหว่างสอบสวน กระจายอยู่ใน 11 ประเทศ และเตือนว่าอาจพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก วันนี้ สุขภาพดีดี.com ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ฝีดาษลิง คืออะไร ? มาให้ทุกคนได้อ่านกันและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกันค่ะ

 

               โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มพอกซ์วิริเด (Poxviridae) เชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษคน หรือไข้ทรพิษ ส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ห่างไกลในประเทศทางตอนกลางและตะวันตกของทวีปแอฟริกา ใกล้บริเวณที่เป็นป่าดิบชื้น โดยมีไวรัสสองสายพันธุ์หลักคือ แอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ส่วนใหญ่คนติดโรคฝีดาษลิงจากสัตว์ฟันแทะและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่มีโอกาสน้อยในการแพร่จากคนสู่คน

โรคฝีดาษลิงติดได้อย่างไร?
  • จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด
  • สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน
  • การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า
  • หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย
  • การแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย
  • แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม
  •  หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน

 

อาการโรคฝีดาษลิง
  • มีไข้สูง 
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ปวดหลัง
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • หนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย
  • ผื่นขึ้นบริเวณแขน ขา หน้า และ ลำตัว
  • ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง
ติดต่อง่ายไหม ?

 

               โรคฝีดาษลิง ถือเป็นโรคที่ติดต่อจากคนและสัตว์ยากมากแต่ โรคฝีดาษลิงอาจแพร่กระจายได้เมื่อมีการเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อ โดยไวรัสชนิดนี้จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางรอยแตกบนผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ หรือผ่านทางตา จมูก หรือปาก

               โรคฝีดาษลิง พบในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะหลายชนิด เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงรวมทั้งคนก็อาจติดเชื้อได้ โดยคนสามารถติดโรคนี้จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด หรือการกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ เป็นต้น การแพร่เชื้อจากคนสู่คนอาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิด แต่มีโอกาสน้อยมากในการแพร่จากคนสู่คน

นอกจากนี้เชื้อโรคนี้ยังแพร่กระจายด้วยการสัมผัสกับวัตถุที่ปนเปื้อนไวรัสชนิดนี้ ยกตัวอย่างเช่น ผ้าปูที่นอนและเสื้อผ้า

มีความเหมือนและแตกต่างจาก COVID-19 อย่างไร

1.การติดต่อ

โรคฝีดาษลิง : แตกต่างจากเชื้อฝีดาษในคน(smallpox)ที่สามารถติดต่อทางระบบทางเดินใจหาย และ สารคัดหลั่งจากการไอ จาม แต่ฝีดาษลิง จะมีการติดต่อได้จากการสัมผัสบาดแผล หรือ ฝีหนอง และเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และการที่พบผู้ป่วยในต่างประเทศ ก็มาจากการเลี้ยงสัตว์แปลก  หรือ มีการเดินทางไปที่แอฟริกามาก่อน การติดต่อของฝีดาษลิง ถือว่าติดต่อได้ยากเมื่อเทียบกับฝีดาษคน เพราะต้องสัมผัสกับ บาดแผล ฝีหนอง ของคนป่วย 

โควิด-19 : เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ แพร่จากคนสู่คน จากการสัมผัสผู้ติดเชื้อ ผ่านทางละอองเสมหะจากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย

2.อัตราป่วยเสียชีวิต

โรคฝีดาษลิง : อาการป่วยจะประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก ซึ่งในประเทศแอฟริกาพบอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10  %องค์การอนามัยโลก ระบุ อัตราเสียชีวิตฝีดาษลิง อยู่ที่ 3-6 % ในพื้นที่ที่เป็นโรคประจำถิ่น แต่ก็อาจเป็นการประเมินที่สูงเกินไป ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่

โควิด-19 : มีการระบาดทั่วโลกมากว่า 2 ปี  ปัจจุบัน อัตราป่วยเสียชีวิตทั่วโลก อยู่ที่ 1.20  % ส่วนในประเทศไทย ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563 ผู้ป่วยยืนยันสะสม 4,406,755 ราย หายป่วยแล้ว 4,318,565 ราย เสียชีวิตสะสม 29,715 ราย  อัตราป่วยเสียชีวิตอยู่ที่ 0.18 %  (ข้อมูล : 21/5/2565)

3.วัคซีน

โรคฝีดาษลิง : วัคซีนฝีดาษ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85% โดยก่อนหน้าที่จะกวาดล้างไข้ทรพิษได้นั้น  มีการฉีดวัคซีนหรือที่เรียกกันว่าการปลูกฝี ซึ่งจะช่วยป้องกันทั้งสองโรคนี้ได้ เด็กที่เกิดหลังปี 2523 จะไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อน จึงเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคฝีดาษลิงมากกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ

โควิด-19 : ปัจจุบัน วัคซีนโควิด-19 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) อนุมัติการขึ้นทะเบียน ทั้งนี้ วัคซีนโควิด19ที่อย.ไทยอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินแล้วมี 7 ตัว 4 ชนิดแพลตฟอร์ม คือ

  1. ชนิดเชื้อตาย คือ วัคซีนซิโนแวค และซิโนฟาร์ม
  2. ชนิดmRNA คือ วัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา
  3. ชนิดไวรัล แว็กเตอร์ คือ วัคซีนแอสตราเซนเนก้า และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
  4. ชนิดโปรตีนซับยูนิต คือ วัคซีนโคโวแวกซ์

 

วิธีการป้องกันโรคฝีดาษลิง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า  
  • หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ  
  • หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ หรือเดินทางเข้าไปในป่า
  • ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการ คัดกรองโรค  
  • กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน  หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที และทำการแยกกักเพื่อมิให้ผู้ป่วยมีการแพร่กระจายเชื้อ

 

ที่มาข้อมูล : 5 ข้อเทียบ “ฝีดาษลิง” กับ “โควิด-19” ที่โลกกำลังหวั่นถึงการระบาด

เปิดความอันตราย “ฝีดาษลิง” ระบาดคล้ายโควิด หาก “ติดฝีดาษลิง” ต้องกักตัว 21 วัน

ฝีดาษลิง : โรคนี้มีอาการอย่างไร ติดต่อทางไหนได้บ้าง

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 4.7 / 5. Vote count: 6