ภาวะดื้ออินซูลิน กับการกินแบบแฮปปี้
เราคงจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่าคนไทยนั้นเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานกันมากและเป็นมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หากอ้างอิงสถิติ ณ ปัจจุบัน พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวานอยู่ราว 5 ล้านคน กำลังป่วยด้วยโรคเบาหวาน และมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งแสนคนต่อปี
ในตัวเลขดังกล่าวนั้นมีจำนวนมากถึง 40% ที่ไม่ทราบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคเบาหวาน ขณะที่ผู้ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษามีเพียง 54.1% หรือเพียง 2.6 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเพียง 1 ใน 3 คน ที่สามารถบรรลุเป้าหมายในการรักษา จึงเป็นที่มาให้เกิดอัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานในเมืองไทยมีมากถึง 200 รายต่อวัน
ทางการแพทย์มีวิธีการรักษาโรคเบาหวานที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจเจกบุคคล แต่กระบวนการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดและมีประสิทธิภาพทางการแพทย์มากคือการ ฉีดอินซูลิน สุขภาพดีดี.com ได้รวบรวมข้อมูลดีดีมาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ
อินซูลินคืออะไร? อินซูลินเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถผลิตเองได้จากตับอ่อน โดยอินซูลินจะทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของระดับกลูโคส (น้ำตาล) ในเลือด และยังช่วยให้เซลล์ในร่างกายเก็บสะสมกลูโคสเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน และยังช่วยเก็บกลูโคสส่วนเกินไว้ในตับเพื่อให้ร่างกายเอามาใช้เป็นพลังงานได้เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลง แต่การที่ได้รับอินซูลินมากเกินไปนั้นก็เกิดผลเสียได้เช่นกัน หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน
ภาวะดื้ออินซูลิน คือ การที่มีอินซูลินท่วมท้นอยู่ในกระแสเลือดตลอดเวลา แต่ขาดประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน โรคอ้วน และมีอีกหลายคนที่มีภาวะดื้ออินซูลินแต่ยังไม่เกิดเบาหวานเช่นกัน ซึ่งอาจสังเกตุได้จาก ห่วงยางรอบเอว รอยดำที่คอ สิว ผิวกระด้าง
เนื่องจากภาวะดื้ออินซูลินนั้น ตับอ่อนต้องทำงานหนักเพื่อหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้นให้เพียงพอ แต่ในระยะยาวถ้าติดตามอาการอย่างต่อเนื่องจะพบว่า การหลั่งอินซูลินจะค่อยๆ ลดลงและไม่เพียงพอ จึงทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดโรคเบาหวานในที่สุด ดังนั้นคนที่อ้วนแต่ยังไม่เป็นเบาหวาน อาจเป็นเพราะยังเป็นไม่นานมากพอที่จะทำให้ตับอ่อนเสื่อมนั่นเอง
พีท ธัญยธรณ์ สอนบุญบันดาล อดีตผู้ป่วยโรคอ้วนที่เคยมีน้ำหนักมากถึง 130 กิโลกรัม และมีภาวะดื้ออินซูลิน ผู้รณรงค์โดยร่วมจับมือกันทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน ได้เล็งเห็นปัญหาของอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวาน และกลุ่มโรค NCDs กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย เช่นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคกลุ่มหลอดเลือดหัวใจและสมอง ที่มีอัตราสูงถึง 17 ล้านคน และคาดว่าไม่รู้ตัวอีกประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขการเติบโตที่น่ากลัวมาก นับเป็นการสูญเสียปีสุขภาวะของไทยอีกทั้งสูญเสียตัวเลขทางเศรษฐกิจอีกด้วย
โดยคราวนี้ HAPe (แฮปปี้) นำทีมประธานกรรมการหนุ่มอารมย์ดี พีท ธัญยธรณ์ สอนบุญบันดาล ได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มตลาดที่เปลี่ยนไปจากโควิด19 ทั้งอัตราผู้ป่วยและเสียชีวิตที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยที่มีภาวะดื้ออินซูลิน ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรค NCDs เหล่านี้มีอัตราการป่วยและเสียชีวิตสูงกว่าจากการติดเชื้อโควิด19 และด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป กลุ่มผู้รักและใส่ใจสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคีโตเจนิค, Plantbased โดยทางคุณพีท ได้มีกลุ่มส่วนตัว #คีโตไงหล่ะพวกหล่อน ทางFacebookที่เป็นการรวมตัวกันของผู้ที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับภาวะดื้ออินซูลิน มีสมาชิกราว 34,000 คนและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นที่มาของการที่ HAPe (แฮปปี้) พร้อมขยับเข้าสู่เครื่องปรุงสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างแท้จริง
โดยการจับมือร่วมกันระหว่าง HAPe (แฮปปี้) และเครือพันธมิตรอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำ ที่เล็งเห็นถึงปัญหาและโอกาสทางการตลาดของภาวะดื้ออินซูลินในประชากรไทย โดยมีเป้าการร่วมพันธมิตรกว่า 8,000 สาขาร้านอาหารและเครื่องดื่ม และช่องทางการจัดจำหน่ายอีกกว่า400สาขา เพื่อความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เพื่อให้คนไทยได้ #ใช้ชีวิตแบบแฮปปี้
#อินซูลิน #ดื้ออินซูลิน #คีโต #เบาหวาน #HAPe #ใช้ชีวิตแบบแฮปปี้ #กินอร่อยแบบแฮปปี้