ภาวะไตวายเฉียบพลัน คือ…
หลายคนคงเคยได้ยินว่าภาวะไตวายนั้นอันตรายถึงชีวิต วันนี้ สุขภาพดีดี.com อยากให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความอันตรายของภาวะไตวายเฉียบพลัน และรวบรวมข้อมูลดีๆมาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ
ภาวะไตวายเฉียบพลัน คือ ภาวะที่มีการสูญเสียการทำงานของไตในช่วงเวลาเป็นช่วงเวลานาน อาจจะเกิดขึ้นนานเป็นชั่วโมงหรือนานเป็นวัน
เป็นผลให้เกิดการคั่งของของเสียและการควบคุมสมดุลกรดด่าง รวมทั้งปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ
ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งภาวะไตวายเฉียบพลันอาจจะเกิดขึ้นได้และรักษาหายได้ ขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้ป่วย
อาการไตวายเฉียบพลันเป็นอย่างไร ? |
1. ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ หรือปัสสาวะน้อยกว่า 400 ซีชี/วัน น้อยกว่าคนปกติ 3 เท่า
2. มีอาการผิดปกติได้แก่ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
3. เกิดอาการบวมตามร่างกาย ได้แก่ แขนขาบวมน้ำ เหนื่อยหอบ หรือมีอาการขาดน้ำ อย่างใดอย่างหนึ่ง
4. หัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยจะรู้สึกว่า วูบหวิว เหนื่อยง่าย หรืออ่อนเพลีย
5. มีอาการอื่นๆ นอกเหนือจากข้างตัน เช่น ปวดชายโครง ผื่นขึ้น เป็นตัน
สาเหตุของภาวะไตวายเฉียบพลัน |
1. ร่างกายสูญเสียน้ำในปริมาณมาก เช่น การตกเลือด ท้องเสีย หรืออาเจียนอย่างรุนแรง หรืออาจเกิดจากการดื่มน้ำน้อยเป็นเวลานาน
2. ภาวะช็อกจากอาการหัวใจล้มเหลวติดเชื้อในกระแสเลือด
3. การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเกิดจากการอั้นปัสสาวะด้วยส่วนหนึ่ง
4. รับประทานยานอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ซึ่งมีผลเสียต่อไตในระยะยาว ซึ่งยาที่พบบ่อย ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดชนิด ยาชุดแก้ปวด ยาสมุนไพร
5. การรับประทานอาหารบางชนิดมากเกินไป เช่น น้ำมะเฟือง ผักปวยเล้ง ตะลิงปลิง แครนเบอรี่ ที่มีผลต่อไตมากจนเกินไป
6. การเป็นโรคไตอักเสบเฉียบพลัน
การตรวจสอบความผิดปกติ |
1. ตรวจหาโปรตีนและเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ : โดยในคนปกติโปรตีนและเม็ดเลือดแดงจะไม่ออกมาทางปัสสาวะ
แต่ในสภาวะที่ไตทำงานผิดปกติหรือเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันอาจจะพบเจอโปรตีนและเม็ดเลือดแดงได้
2. ตรวจเลือดเพื่อหาค่าครีเอตินิน ( creatinine ) ซึ่งเป็นค่าของเสียในเลือดโดยผลที่ได้จะนำมาใช้ในการประเมินค่าการทำงานของไตหรือ GFR (glomerular filtration rate)
3. การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น ทำการตรวจอัลตราซาวนด์ไตและทางเดินปัสสาวะและในบางกรณีอาจมีการตัดชิ้นเนื้อไตส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วย
ค่า GFR เท่าไรถึงไม่ปกติ ? |
สามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 5 ระยะ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ระยะที่ 1 ค่า GFR 90 หรือมากกว่า แต่เริ่มพบโปรตีนในปัสสาวะหมายถึงไตเริ่มเสื่อม
- ระยะที่ 2 ค่า GFR 60-89 ค่า GFR ลดลงเล็กน้อย เป็นระยะที่ไตเสื่อมแล้ว
- ระยะที่ 3 ค่า GFR 30-59 ค่า GFR ที่ลดลงปานกลาง
- ระยะที่ 4 ค่า GFR 15-29 ค่า GFR ลดลงมาก
- ระยะที่ 5 ค่า GFR น้อยกว่า 15 เป็นระยะสุดท้ายหรือภาวะไตวาย
ภาวะแทรกซ้อนของโรคไตวายเฉียบพลัน |
– ภาวะแทรกซ้อนไม่รุนแรง เช่น ภาวะฟอตเฟสในเลือดสูง, ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ, ภาวะแมกนีเซียมในเลือดสูง
หรือภาวะซีดเนื่องจากขาดฮอร์โมนอีริโทรพอยเอทิน ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้ไม่ดีเท่าที่ควร
– ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้ ทำให้เกิดการคั่งของน้ำในกระแสเลือด
ซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูงและอาจเกิดภาวะหัวใจวายตามมาได้, ภาวะเลือดเป็นกรดที่ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้นได้เช่นกัน
ภาวะแทรกซ้อนทางสมอง ทำให้เกิดอาการชัก หมดสติ, ภาวะติดเชื้อง่ายและรุนแรงเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
หรือไตถูกทำลายถาวรจากการรักษาล่าช้าและอาจกลายเป็นไตวายเรื้อรังในที่สุด
สุขภาพดีดี.com อยากให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีในทุกๆวัน รักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ
ที่มาข้อมูล : bumrungrad.com
si.mahidol.ac.th/
chulalongkornhospital.go.th/
siphhospital.com/