วิธีการเลือก น้ำมันปลา

  • Last modified on:2 ปี ago
  • Reading Time:2Minutes
  • Post Words:46Words
  • PostView Count:207Views

วิธีการเลือก น้ำมันปลา

                  น้ำมันปลา (Fish Oil) ที่ช่วยบำรุงสมองมีส่วนช่วยในการเรียนรู้ จดจำ และชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองได้ดี ในน้ำมันปลามีกรดไขมันอยู่หลายชนิด ชนิดที่สำคัญคือ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 ที่มีกรดสำคัญมาก ๆ อยู่ 2 ชนิด คือ EPA (Eicosapentaenoic Acid) ที่ช่วยระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดความดันโลหิต ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ลดการปวดข้อและข้ออักเสบรูมาตอยด์ ฯลฯ และ DHA (Docosahexaenoic Acid) ที่ช่วยในด้านความจำ เป็นส่วนประกอบสำคัญของสมองและดวงตา โดย โอเมก้า-3 นี้เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ดังนั้น การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา ส่วนใหญ่แล้วเราจะต้องการประโยชน์ที่ได้รับจากโอเมก้า-3 คือ EPA และ DHA เป็นหลัก

 

                  ดังนั้น การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำพวกน้ำมันปลาส่วนใหญ่แล้วผู้บริโภคมักต้องการประโยชน์จากสาร Omega-3 คือ EPA และ DHA เป็นหลัก ซึ่งประโยชน์จากการรับประทานสารจำพวก Omega-3 ที่พบว่ามีการศึกษาในมนุษย์ยืนยันประสิทธิภาพค่อนข้างมาก ได้แก่

  • การลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในกระแสเลือด
  • การลดระดับความดันโลหิตสูง เพื่อช่วยทำให้หลอดเลือดขยายตัว และป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ลดความหนืดของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น ทำให้ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของระบบหลอดเลือดและหัวใจ
  • ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไม่เกาะตัวกันเป็นลิ่ม (ป้องกันการแข็งตัวของเลือด)
  • ลดการปวดข้อและข้ออักเสบรูมาตอยด์

                  และถ้าหากต้องการบำรุงร่างกายด้วยน้ำมันปลา สุขภาพดีดี.com มีเคล็ดลับดีๆในหัวข้อ วิธีการเลือก น้ำมันปลา มาให้ทุกคนได้อ่านที่จะช่วยให้คุณเลือกทานน้ำมันปลาได้อย่างผู้รู้จริง เพื่อให้ได้คุณค่าอย่างเต็มที่และปลอดภัยในระยะยาว

 

หลักในการเลือกซื้อน้ำมันปลา (Fish Oil) มารับประทาน

 

 

 

1.  เลือกแหล่งที่มาของปลาที่นำมาผลิต 

                  เริ่มแรกควรเลือกแหล่งที่มาของปลาที่มาจากธรรมชาติและผลิตจากปลาทะเลน้ำลึก เนื่องจากปลาทะเลน้ำลึกจะมีกรดไขมันที่มีปริมาณสูง และยิ่งถ้ามาจากแหล่งน่านน้ำธรรมชาติก็จะยิ่งปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจติดมากับปลาด้วย อีกทั้งต้องมีการตรวจสอบสารปนเปื้อนทั้งโลหะหนัก สารตะกั่ว ปรอท แคดเมียม สารหนูและผ่านมาตรฐาน GMP มาตรฐานยารองรับระดับโลก

2. เลือกชนิดของเม็ดเป็นแบบแคปซูลนิ่ม 

                  ส่วนมากรูปแบบของน้ำมันปลามักจะบรรจุในเม็ดแคปซูลนิ่ม (Soft Gel) เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้กรดไขมัน Omega-3 สลายตัวระหว่างรอทานดีกว่าเม็ดยาในรูปแบบแคปซูลแข็ง ที่อาจมีรอยรั่วตรงขอบเม็ด ซึ่งจะทำให้อากาศเข้าไปทำปฏิกิริยากับกรดไขมัน Omega-3  เป็นเหตุให้กรดไขมันสลายตัวและปริมาณลดลง

3. เลือกปริมาณของ EPA และ DHA ให้ดี

                  ควรดูปริมาณของ EPA และ DHA ของแต่ละยี่ห้อให้ดี บางยี่ห้ออาจระบุปริมาณของกรดไขมัน Omega-3 ว่าบรรจุ 1,000 มิลลิกรัมต่อเม็ด แต่ปริมาณของ EPA และ DHA กลับมีน้อยมาก เนื่องจากอาจมีส่วนผสมอย่างอื่นมาเจือปนด้วย ซึ่งสัดส่วนของปริมาณ EPA : DHA ที่เชื่อว่าจะมีผลในการดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ 3:2 ยกตัวอย่างเช่น หากมีปริมาณ EPA 180 มิลลิกรัม จะต้องมีปริมาณ DHA 120 มิลลิกรัม

 

4. เลือกจากบรรจุภัณฑ์

                  จะสังเกตได้ว่า ในท้องตลาดมีทั้งบรรจุภัณฑ์แบบขวดทึบแสงที่เป็น ‘ขวดพลาสติก’ และ ‘ขวดแก้ว’ จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า ควรเลือกบรรจุภัณฑ์แบบใด ซึ่งจริง ๆ แล้วบรรจุภัณฑ์ทั้งสองแบบมีข้อดีแตกต่างกัน ดังนี้

                  บรรจุภัณฑ์ที่เป็นขวดพลาสติก : ข้อดีของขวดพลาสติกคือ “เบา สะดวกต่อการพกพา” ขวดพลาสติกเกรดยาย่อมมีมาตรฐานดีกว่าขวดพลาสติกเกรดอาหารเสริมทั่วไป ที่ช่วยปกป้องตัวผลิตภัณฑ์และตัวเม็ดยาให้มีประสิทธิภาพเหมือนตอนที่ออกจากโรงงาน

                  บรรจุภัณฑ์ที่เป็นขวดแก้ว : ภาชนะแก้วบรรจุยาเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผิวมีความทนทานต่อสารเคมีสูง ผิวไม่เปลี่ยนแปลงสภาพง่ายมีความเสถียรสูง การนำมาใช้บรรจุยาต้องวิเคราะห์ทดสอบสมบัติทั้งทางกายภาพและสมบัติทางเคมี เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าปลอดภัยจริง

 

ที่มาข้อมูล : น้ำมันปลา (Fish oil)

วิธีเลือกซื้อน้ำมันปลาอย่างผู้รู้จริง

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 5 / 5. Vote count: 1