วิธีดูแลแผลพุพอง

  • Last modified on:2 ปี ago
  • Reading Time:1Minute
  • Post Words:22Words
  • PostView Count:110Views

วิธีดูแลแผลพุพอง

ในแต่ละวันในการใช้ชีวิตของเราอาจจะมีเรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้น อย่างล่าสุด จาก Facebook โหนกระแส มีการนำเสนอข่าว เรื่องลูกค้าเรียกร้องค่าเสียหาย จากการไปทานหมูกระทะ แล้วพนักงงาน เอาเก้าอี้ ตัวที่พึ่งวางเตามาให้ลูกค้านั่ง ทำให้ลูกค้าร้อนและเกิดแผลพุพองตามมา หรือคุณพ่อบ้าน แม่บ้านที่ชอบทำอาหาร สิ่งที่ต้องโดนบ่อยๆเลยคือ การถูกน้ำมันร้อนๆ กระเด็นใส่ ก็ทำให้เกิดแผลพุพองตามมา สร้างความเจ็บปวดให้แก่บริเวณที่โดนมากๆ แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราจะต้องทำยังไง ?? นี่แหละ สำคัญกว่า  วันนี้ สุขภาพดีดี.com จะมาบอก วิธีดูแลแผลพุพอง

ระดับความรุนแรงของบาดแผล

  1. First Degree Burn เป็นการบาดเจ็บในชั้นหนังกำพร้า บาดแผลเจ็บไม่มาก และมักจะหายเองภายใน 1 สัปดาห์ โดยไม่มีแผลเป็น บาดแผลพวกนี้ เช่น บาดแผลจากการถูกแสงแดดเป็นเวลานาน (Sun Burn)
  2. Superficial Second Degree Burn เป็นการบาดเจ็บในชั้นหนังแท้ส่วนที่อยู่ตื้น ๆ บาดแผลพวกนี้จะเจ็บมาก บางครั้งพองเป็นตุ่มน้ำใส ๆ ถ้ารักษาอย่างถูกต้องมักจะหายได้เองภายใน 2 – 3 สัปดาห์มักไม่มีแผลเป็นหลงเหลือ
  3. Deep Second Degree Burn เป็นการบาดเจ็บในชั้นหนังแท้ส่วนลึก บาดแผลพวกนี้จะเจ็บมากเช่นกัน ดูแยกยากจากบาดแผลประเภทที่ 2 การรักษาใช้เวลานานมากขึ้น บางครั้งมีแผลเป็นเกิดขึ้นได้
  4. Third Degree Burn เป็นบาดแผลเจ็บที่ทำลายผิวหนังทุกชั้นจนหมด บาดแผลพวกนี้จะไม่เจ็บมาก เพราะเส้นประสาทรับความเจ็บปวดจะถูกทำลายไปด้วย บาดแผลจะมีสีค่อนข้างซีด บางครั้งจะมีเนื้อตายแข้ง ๆ คลุมแผลอยู่ การรักษาจะยุ่งยากมากขึ้น จำเป็นต้องเลาะเนื้อตายออก และจะต้องทำการผ่าตัดเอาผิวหนังมาปลูกถ่าย (Skin Grafting) ยกเว้นบาดแผลขนาดเล็กมาก อาจทำแผลจนหายเองได้ แต่มักจะมีแผลเป็นตามมา

วิธีดูแลแผลพุพอง

1.อย่าทาแผลด้วยยาสีฟัน หลายบ้านเป็นกัน ตัวแอดมินเอง ก็เคยได้ยินมา เมื่อเวลาที่โดนน้ำร้อนลวก หรือ อะไรร้อนๆ มักจะทาด้วยยาสีฟัน หรือ ยาหม่อง ซึ่งการทำแบบนี้ จะให้เกิดความลึกขึ้นของแผลได้

2.แช่แผลด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ ไม่ควรที่จะแช่แผลด้วยน้ำร้อนหรือน้ำเย็น ควรแช่ด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ จะทำให้ลดความรุนแรงของแผลได้

3.ล้างแผลด้วยน้ำธรรมดา หรือ ถ้าเป็นน้ำมันร้อนๆกระเด็นใส่ ก็สามารถล้างด้วยน้ำสบู่ได้ แต่ก็ไม่ควรถูแรงเกินไป

4.ตุ่มพองเล็ก ไม่ควรเจาะ ถ้ามีตุ่มเล็กๆ ไม่เกิน  1 เซนติเมตร ไม่ควรเจาะ ให้ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วย ทิงเจอร์สำหรับใส่แผล ปิดผ้าก๊อซ ตุ่มจะยุบลงเองประมาณ 2-3 วัน

5.ตุ่มพองใหญ่ ที่มีขนาดมากกว่า 1 เซนติเมตร ใช้กรรไกรหรือมีด ฆ่าเชื้อ เจาะรู ใช้ผ้าก๊อซซับน้ำเหลือง เเล้วทาทิงเจอร์  แล้วปิดด้วยผ้าก๊อซ แผลจะแห้งภายใน 2-3 วัน

6.ทานยาแก้ปวด หากมีอาการปวดแพทย์ สามารถทานยาแก้ปวดได้ แต่ถ้าไม่มีอาการปวดก็ไม่จำเป็นต้องทาน

7.หากบริเวณที่โดนความร้อน มีความเสี่ยงเช่น โดนเหล็กร้อนๆ ควรไปฉีดยาป้องกันบาดทะยัก

8.แผลรุนแรง หรือมีวงกว้าง ควรไปพบแพทย์

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลวิภาวดี 

โรงพยาบาลกรุงเทพ 

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 5 / 5. Vote count: 1