วิธีรับมืออาการนอยด์หลังหยุดยาว

  • Last modified on:2 ปี ago
  • Reading Time:1Minute
  • Post Words:9Words
  • PostView Count:111Views

 

วิธีรับมืออาการนอยด์หลังหยุดยาว

หลายๆคน เมื่อถึงวันเปิดงานหลังหยุดยาวแล้ว จะมีอาการนอยด์ รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่มีแรงบันดาลใจ รู้สึกยังไม่อยากทำอะไร ทั้งๆที่ในช่วงหยุดยาว ก็ แฮปปี้ ดี๊ด๊า ไม่ต้องแปลกใจนะคะ เพราะนี่คือ อาการของ  Post-Travel Depression (PTD) หรือ อาการซึมเศร้าหลังท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นกับหลายคน ในช่วงหลังวันหยุด พักผ่อน ท่องเที่ยว แต่อย่านอยด์ไป..วันนี้ สุขภาพดีดี.com มี วิธีรับมืออาการนอยด์หลังหยุดยาว มาฝากทุกคนค่ะ ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกเทศกาลหยุดยาว หรือ ท่องเที่ยว

ก่อนที่จะไปรู้วิธีรับมือ เราไปทำความเข้าใจก่อน ว่าอาการเหล่านี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยนักจิตวิทยา ได้สรุปไว้ ย่อๆว่า

1.เมื่อเราได้ไปท่องเที่ยว หรือ หยุดยาว เราได้ปลดปล่อย ได้เป็นตัวของตัวเอง เราจึงรู้สึกผ่อนคลาย โดยเฉพาะการไปในที่ๆไม่มีคนรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นการไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือ การไปเที่ยวต่างประเทศ จึงเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ รู้สึกอิสระ เมื่อกลับมาทำงาน หรือกลับมาเรียน จึงรู้สึกถูกจำกัด ถูกกดดัน เลยทำให้เกิดอาการนอยด์เกิดขึ้น

2.ระหว่างหยุดยาว หรือ การไปท่องเที่ยว ได้เจออะไรใหม่ๆ ได้ออกจากอะไรเดิมๆ เลยทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้น และมีความสุขจากอะไรใหม่ๆ เมื่อต้องกลับมาอยู่ในสถานการ์ณเดิมๆเลยรู้สึกไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่

3.มีความสุขกับคนที่ห่างมา เช่น ครอบครัว บางคนต้องเดินทางห่างจากบ้าน ห่างจากครอบครัว เพื่อมาทำงานหรือเรียนหนังสือ การได้กลับไปอยู่ภายใต้ความรัก ความอบอุ่น เลยทำให้รู้สึกดี เมื่อต้องกลับมาอยู่กับตัวเอง หรือ กลับมาทำงาน ความรู้สึกเหล่านั้นได้หายไป เลยทำให้มีโอกาสนอยด์ เกิดขึ้นได้

แต่นักจิตวิทยา นอกจากจะวิเคราะห์เรื่องอาการ PTD แล้ว นักจิตวิทยายังบอกแนวทางของการเยียวยา หรือ วิธีการรับมือกับอาการเหล่านี้ ไว้ดังนี้

1.หาแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง ค้นหาแรงบันดาลใจของการทำงาน หรือ การเรียน เพื่อให้มีแรงจูงใจ เช่น การบอกกับตัวเองว่า ทำงานเพื่อได้เงินไปเที่ยว แบบนี้ก็ไม่ถือว่าผิด หรือ การได้โบนัสสิ้นปี การได้บริการลูกค้า ได้บริหารงานให้สำเร็จล้วนแล้วแต่ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจทั้งนั้น

2.มองทุกอย่าง แบบ นักท่องเที่ยว ให้เข้าใจ ว่าการที่เราไปเที่ยว เป็นการเปิดประสบการ์ณใหม่ๆ ที่ต่างจากเดิม จริงๆที่ๆเราควรอยู่ คือ ที่ที่เป็นปัจจุบัน การมองทุกอย่างตามความเป็นจริง หรือ การยอมรับความจริง

3.วางแผนการเที่ยวครั้งต่อไป อีก 1 วิธีที่ตัวแอดมินเอง ก็ใช้ คือ การวางแผนการเที่ยวครั้งต่อไป การจองดูตั๋วเครื่องบินในเวลาว่าง จะทำให้เรามีการกระตุ้นการทำงาน เพื่อเดินทางไปเที่ยวในครั้งต่อไป

4.Memory ความทรงจำ การบันทึกความทรงจำ ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกผ่านหนังสือ สื่อออนไลน์ ไว้ที่ใดที่หนึ่ง จะทำให้คุณมีความสุขทุกครั้งที่ได้เปิดดู และรอคอยวันที่ได้ไปอย่างมีแรงบันดาลใจ

5.กำหนดเป้าหมาย ในชีวิต การกำหนดแผน จะทำให้เราใช้ชีวิต อย่างมีระบบมากขึ้น เมื่อเราได้จัดระบบความคิด เราจะรู้สึกถึงการมีแรงผลักดัน จะทำให้อาการนอยด์ หายไปนั้นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก The thereporters 

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 0 / 5. Vote count: 0