สัญญาณอันตรายของโรคไหลตาย
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ วงการบันเทิงไทยได้สูญเสียนักแสดงหนุ่มมากความสามารถอย่าง “บีม ปภังกร” และยังคงสร้างความโศกเศร้าเสียใจต่อเพื่อนๆในวงการบันเทิง แฟนคลับ เป็นอย่างมาก สำหรับการเสียชีวิตของนักแสดงหนุ่มชื่อดังพระเอกเรื่องเคว้ง เสียชีวิตปริศนา หลังนอนหลับปลุกไม่ตื่น สุขภาพดีดี.com ขอแสดงความเสียใจกับการจากไปของ “บีม ปภังกร” อย่างสุดซึ้ง
สุขภาพดีดี.com เป็นห่วงสุขภาพทุกท่าน ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ โรคไหลตาย และ สัญญาณอันตรายของโรคไหลตาย มาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันโรคไหลตายคืออะไร และเกิดจากอะไร?
โรคไหลตาย คืออะไร? |
รศ.พญ. สิรินทร์ อภิญาสวัสดิ์ แพทย์ประจำสาขาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า อาการไหลตาย หรือ หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของการนำเกลือแร่โซเดียมเข้าออกเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรง และเสียชีวิตกะทันหันได โรคไหลตายเป็นโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะในแถบภาคอีสาน ความน่ากลัวของโรคนี้คือการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน และไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้า
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิด โรคไหลตาย |
ปัจจัยส่งเสริมอาการใหลตายในผู้ที่มีความผิดปกติจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรงจนอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ ได้แก่
- มีไข้สูง
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ใช้ยานอนหลับ
- ขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม
อาการและสัญญาณของ โรคไหลตาย |
- อึดอัด หายใจไม่ออก โดยเฉพาะช่วงกลางคืน
- อาจมีอาการเป็นลม หมดสติ
- ใจหวิวๆ เครียดง่าย ตื่นเต้นง่าย
- เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก
- วิงเวียนศีรษะ
วิธีการรักษา และป้องกัน โรคไหลตาย |
- หากในรายที่มีความเสี่ยงต่อภาวะใหลตายสูง ควรลดและเลี่ยงปัจจัยที่ส่งเสริมอาการให้เกิดขึ้นต่างๆ เช่น ถ้ามีไข้สูง ให้รับลดไข้ด้วยการรับประทานยาลดไข้ เช็ดตัว ลดหรือเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น
- ฝังเครื่องกระตุกหัวใจเข้าไปในร่างกายเป็นวิธีที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และหากเกิดความผิดปกติใดๆ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถให้คำแนะนำได้ทันท่วงที
ที่มาข้อมูล : รู้จัก ‘โรคใหลตาย’ ภาวะ หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ภัยร้ายคร่าชีวิตโดยไม่รู้ตัว