ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตวัยทำงาน
การนั่งทำงานบนตึกสูงๆใจกลางเมือง นั่งหน้าคอมพิวเตอร์มีแอร์เย็นสบาย มักเป็นที่ต้องการของหลายคน และนักศึกษาจบใหม่ แต่หารู้ไม่ว่า หากไม่ดูแลตนเอง อาจจะทำให้เกิดโรคยอดฮิต อย่าง ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ก็เป็นได้
อาการของ “ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)” จะทำให้รู้สึกปวดร่างกายโดยเฉพาะในบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก อาการปวดมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ไปจนถึงระดับรุนแรง หรือมีอาการตาพร่า หูอื้อ ชา ปวดหัวไมเกรนร่วมด้วยซึ่งบางรายที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากยังคงนั่งทำงานในอริยาบทที่ผิดจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น
โดยสาเหตุหลักของภาวะโรค “ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)” เกิดจากหลายปัจจัย อาทิเช่น
สาเหตุจากสภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ไม่เหมาะกับโครงสร้างร่างกาย เช่น เก้าอี้หรือโต๊ะทำงานที่สูงหรือต่ำจนเกินไป ไม่รองรับสรีระร่างกาย เมื่อนั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถของร่างกายก็จะก่อให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้
สาเหตุจากสภาพร่างกาย
ออฟฟิศซินโดรมสามารถเกิดจากสาเหตุทางสภาพร่างกายได้เช่นกัน สภาพร่างกายอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนที่ไม่เพียง การได้รับสารอาหารไม่ครบ หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา เป็นต้น
วันนี้ทาง สุขภาพดีดี.com จะมาแนะนำวิธีการป้องกันการเกิด ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตวัยทำงาน โดยเริ่มจากท่านั่งที่ถูกต้องกันค่ะ
♦ นั่งหน้าตรง หรือก้มลงมองจอเล็กน้อย ไม่เกิน 20 องศา ตาห่างจากคอมพิวเตอร์ประมาณ 45-60 เซนติเมตร
♦ ไหล่ปล่อยวางสบาย ไม่ยกขึ้น
♦ หลังหลังตรงแนบกับพนักพนักพิง ก้นนั่งให้ลึก
♦ ขาท่อนบนกับท่อนล่างวางประมาณ 90 องศา
♦ แขนท่อนบนกับข้อศอกวางประมาณ 90 องศา
♦ ขาถึงพื้นวางแนบสนิท ไม่เขย่ง
♦ ขณะทำงานไม่นั่งอยู่กับที่เป็นระยะเวลานานมาก ควรพักชั่วขณะประมาณ 5 นาที เพื่อเป็นเปลี่ยนอิริยาบถหรือพักสายตา
หากใครที่เริ่มรู้สึกว่า จะมีอาการ “ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)” สามารถรักษาได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ออกกำลังกาย ใช้ยา หรือใช้การรักษาด้วยคลื่นกระแทก โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ