อาหารแปรรูปเสี่ยงมะเร็ง

  • Last modified on:3 ปี ago
  • Reading Time:2Minutes
  • Post Words:31Words
  • PostView Count:186Views

อาหารแปรรูปเสี่ยงมะเร็ง

อาหารแปรรูป คืออะไร?

              อาหารแปรรูปเป็นอาหารที่ถูกผ่านกระบวนการยืดอายุ หรือที่เราเข้าใจกันดีในชื่อของการถนอมอาหารให้อยู่ได้นานมากขึ้น ซึ่งอาหารแปรรูปเป็นการถนอมอาหารโดยวิธีการต่างๆ เหล่านี้ เช่น การบ่ม การรมควัน การอบแห้ง และการอัดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ของอาหารแปรรูปนั้นมีหลากหลายชนิด เช่น ไส้กรอก ฮอตด็อก ซาลามี่ แฮม เบคอน เนื้อรมควัน เนื้อแห้ง เนื้อแดดเดียว เนื้อกระป๋อง คุกกี้ น้ำอัดลม ลูกอม ชีสแผ่น เป็นต้น ซึ่ง อาหารแปรรูปเสี่ยงมะเร็ง เป็นความจริงที่ใกล้ตัวเรามาก วันนี้สุขภาพดีดี.com ได้รวบรวมข้อมูลดีๆมาให้อ่านกันค่ะ

 

 

อาหารแปรรูป ส่งผลต่อสุขภาพ อย่างไรบ้าง?

              การรับประทานอาหารแปรรูปทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลเสียกับร่างกายในระยะยาวและรุนแรง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มะเร็งต่างๆเช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ เป็นต้น ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยที่ศึกษามาเป็นเวลานานจะพบว่า ผู้ที่บริโภคอาหารแปรรูปบ่อยๆจะมีความเสี่ยงมากที่จะเป็นโรคต่างๆเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่าการรับประทานอาหารแปรรูปจะไม่สามารถทานได้เลย แต่ควรทานในระดับที่เหมาะสม

 

ทำไมทานอาหารแปรรูปถึงเสี่ยงมะเร็ง ?

 

              สารก่อมะเร็งมีหลายชนิดและอาจอยู่ทั้งในอาหารหรือข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีสารเคมีประกอบอยู่ สารก่อมะเร็งที่มักจะพบในอาหาร คือ สารไนเตรทหรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อของดินประสิว ซึ่งเป็นสารหลักๆ ที่พบในกระบวนการผลิตอาหารแปรรูป เพื่อให้การเก็บรักษายืดอายุอาหารได้ยาวนานขึ้น คงตัวได้ดี

 

              โดยเฉพาะเนื้อสัตว์แปรรูปอย่างไส้กรอก กุนเชียง แหนม เป็นต้น สารก่อมะเร็งนี้จะส่งผลให้เซลล์ในร่างกายทำงานผิดปกติจนพัฒนากลายเป็นเซลล์เนื้อร้ายที่เรียกว่ามะเร็ง นอกจากเนื้อสัตว์แปรรูปแล้ว อีกอาหารที่มีสารก่อมะเร็งสูงก็คือ เนื้อแดงที่ผ่านการปิ้งย่างจนไหม้เกรียม เพราะในเนื้อแดงเกือบทุกชนิดมีสารไนโตรซามีน ที่เมื่อถูกความร้อนจนไหม้เกรียมจะเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง

 

ความสัมพันธ์ระหว่าง อาหารแปรรูปกับ มะเร็ง

              หลังจากมีการศึกษาวิเคราะห์และงานวิจัยมากมาย เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการกินเนื้อแดงและ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ในที่สุด WHO โดยคณะผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ 22 คน จาก 10 ประเทศ ได้ทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับส่วนผสม 50 อย่าง ในอาหารแปรรูปแบบตะวันตก พบว่ามีถึง 40 อย่างที่ส่งผลต่อมะเร็ง โดยจัดให้เนื้อสัตว์แปรรูป (Processed meat) อยู่ในสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 (ระดับเดียวกับสารหนู แร่ใยหิน แอลกอฮอล์ และยาสูบ) และจัดเนื้อแดง (Red meat) ให้อยู่สารก่อมะเร็งระดับ 2A คือ เป็นระดับ “น่าจะ (probably)” ก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งพบว่าผู้ที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 34,000 คนต่อปี จากทั่วโลกมีสาเหตุมาจากการบริโภคเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูปในปริมาณมาก

 

โรคมะเร็ง

 

              อาหารแปรรูปเป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในอาหารแปรรูปส่วนใหญ่แล้วมักจะมีสาร ไนไทรต์ (Nitrite) สารเอ็นไนโตรโซ (N-nitroso compounds) ไนโตรซามีน (nitrosamines) โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons, PAHs) และ สารเฮเทอโรไซคลิกแอโรแมติกเอมีน (Heterocyclic Amines, HCAs)

 

              ซึ่งสารต่างๆ เหล่านี้ ที่อยู่ในอาหารแปรรูปนั้น ล้วนเป็นสารก่อมะเร็ง สามารถทำให้เกิดมะเร็งบางชนิดได้ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก อาหารแปรรูป เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ จากการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารแปรรูป 50 กรัมต่อวัน ทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ถึงร้อยละ 18

 

หากเลิกไม่ได้ ลองลดดูดีไหม?

              ถึงแม้ว่าเราอาจเลี่ยงการกินอาหารแปรรูปไม่ได้ แต่ก็ควรลดปริมาณลง มีงานวิจัยที่พบความสัมพันธ์ของการกินเนื้อแปรรูปกับโอกาสในการเกิดมะเร็งพบว่า การกินเนื้อแปรรูปวันละ 50 กรัม จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้สูงขึ้น 18 เปอร์เซนต์ และแม้แต่ในเนื้อแดงที่ไม่แปรรูป ก็พบว่าทุกๆ การบริโภคเนื้อแดง 100 กรัม จะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้สูงขึ้น 17 เปอร์เซนต์ ดังนั้นทางที่ดี เราบริโภคอาหารแปรรูปให้น้อยที่สุด และเพิ่มการกินอาหารที่จะลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ผักผลไม้กากใยสูง ธัญพืชต่างๆ อาหารไขมันต่ำให้มากขึ้น

 

 

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 0 / 5. Vote count: 0