เชื้อราที่เล็บแก้ยังไง
โรคเชื้อราที่เล็บเกิดได้ทั้งในเล็บมือ และ เล็บเท้า แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่เล็บเท้ามากกว่า ด้วยความอบอุ่นและความชื้นจากาการใส่รองเท้าที่เป็นปัจจัยทำให้เชื้อราก่อตัวขึ้น
รวมถึงบริเวณนิ้วเท้ามีการหมุนเวียนของเลือดน้อยกว่านิ้วมือ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เดินทางมากับเลือดตรวจจับและกำจัดเชื้อโรคได้ยาก
โรคเชื้อราที่เล็บโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่มีอาการอะไร ผู้ป่วยบางรายอาจมีรอบเล็บบวมแดง แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นปัญหาในการรักษาโรคมักจะเป็นโรคเชื้อราที่เล็บอันเนื่องมาจนเล็บมีการเปลี่ยนแปลงมากจึงมาพบแพทย์
ความผิดปกติที่เล็บนั้น พบว่าเล็บเท้าพบได้บ่อยกว่าเล็บมือ และเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก โดยเฉพาะพบในผู้สูงอายุที่อาจมีโรคร่วมอื่น ๆ เกิดอยู่ด้วยกันได้
ผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจมีการติดเชื้อราที่ผิวหนังร่วมด้วย เช่น เชื้อราที่เท้า หรือ เชื้อราที่ผิวหนังส่วนอื่นที่กระจายออกไปกว้าง หรือผู้ป่วยบางส่วนอาจมีผลแทรกซ้อนตามมาหลังการติดเชื้อรา เช่น เล็บขบ เล็บขบอักเสบติดเชื้อ หรือ เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน
ลักษณะที่สังเกตของโรคเชื้อราที่เล็บนั้นมีได้หลายประการ ที่สำคัญคือ จำนวนของเล็บที่มีการเปลี่ยนแปลงจะพบไม่มาก มีเล็บที่เป็นโรคเพียงประมาณ 1 – 3 เล็บ
โดยเล็บที่ติดเชื้ออาจพบลักษณะหนาตัวขึ้น มีขุยหนาใต้เล็บ มีสีเล็บที่เปลี่ยน แปลงไป หรือเล็บที่แยกตัวออกมาจากฐานเล็บ อาจเห็นเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บ
อาการของโรคเชื้อราที่เล็บ |
- เล็บเปลี่ยนสี — เล็บของผู้ป่วยอาจเปลี่ยนเป็นสีขาว สีเหลือง สีดำ หรือ สีเขียว
- เล็บหนา หรือ ผิดรูป — เล็บผู้ป่วยอาจมีรูปร่างผิดปกติ ทำให้ยากต่อการตัดแต่งเล็บได้อีก
- อาการเจ็บที่เล็บ — จะมีอาการเจ็บบริเวณที่ติดเชื้อราเมื่อกดไปแรง ๆ
- เล็บเปราะ — เล็บที่ติดเชื้อราจะเปราะและแตกง่าย
- คันผิวหนังบริเวณเล็บ — ผิวหนังบริเวณเล็บที่ติดเชื้อรา อาจเกิดอาการคัน แดง บวม
- เป็นเชื้อราบริเวณง่ามนิ้ว และฝ่าเท้ามีอาการคันเป็นผื่น มีตุ่มน้ำใส
เชื้อราที่เล็บแก้ยังไง |
โรคเชื้อราที่เล็บ หากมีอาการเพียงเล็กน้อย แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรักษาด้วยตนเอง โดยเน้นเรื่องการรักษาความสะอาดของเล็บเป็นหลัก หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการอื่นร่วม เช่น บวม แดงบริเวณเล็บ เล็บผิดรูปมาก เดินลำบาก หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ เช่น โรคที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันโรคลุกลาม
การรักษาด้วยตนเอง
- รักษาความสะอาดของเล็บและหลีกเลี่ยงการทำให้เล็บอับชื้น
- ใช้กรรไกรตัดเล็บตัดเล็บส่วนที่ติดเชื้อรา
- ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเล็บและเท้า ที่จะช่วยทำให้เล็บขบหายดีเร็วขึ้นอย่างตรงจุด
การรักษาด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- การใช้ยารับประทาน
- การใช้ยาทาเฉพาะที่ เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัย ยาทามีหลายรูปแบบ เช่น ชนิดที่เป็นสารละลาย หรือชนิดที่เป็นยาทาเคลือบเล็บ ซึ่งยาทาบางชนิดสามารถทาที่เล็บสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทำให้มีความสะดวกในการใช้ยา การเลือกรักษาด้วยยาทาเฉพาะที่นั้นจะใช้ได้ดีโดยเฉพาะโรคเชื้อราที่เล็บที่มีจำนวนเล็บไม่มากนัก และไม่มีลักษณะที่ทำให้เกิดการรักษาได้ยาก
- การใช้แสงเลเซอร์รักษา หรือเครื่องมือทางกายภาพบางชนิดในการรักษา หรือร่วมการรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ
การป้องกันโรคเชื้อราที่เล็บ |
- หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่าบนพื้นที่ชื้น น้ำขัง เช่น ห้องอาบน้ำ สระว่ายน้ำ
- ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกับคนอื่น
- สวมรองเท้าและถุงเท้าที่ระบายอากาศได้ดี
- สวมรองเท้าที่ใส่แล้วกำลังพอดี ไม่คับจนเกินไป
- ใช้ถุงเท้าที่สะอาดอยู่เสมอ
- หากเป็นโรคน้ำกัดเท้า ต้องรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา ป้องกันเชื้อราลุกลาม