เตือนภัย โรคที่มากับหน้าหนาว

  • Last modified on:3 ปี ago
  • Reading Time:2Minutes
  • Post Words:29Words
  • PostView Count:148Views

เตือนภัย โรคที่มากับหน้าหนาว

           ฤดูหนาวถือว่าเป็นฤดูโปรดของใครหลายๆคนเนื่องจากมีอากาศเย็นสบาย และเป็นช่วงเวลาสิ้นปีที่จะได้พักผ่อน แต่นอกจากจะเป็นฤดูที่ใครๆต่างรอคอยแล้ว ก็ต้องห้ามประมาทเกี่ยวกับโรคที่จะมาพร้อมกันกับฤดูหนาว เนื่องจากในช่วงที่อากาศเย็นเป็นเวลาที่เหมาะสมกับการแพร่กระจายของไวรัส และยืดระยะเวลาการมีชีวิตของเชื้อไวรัสต่างๆได้อย่างดี จะพบว่าในช่วงเวลาสิ้นปีที่เข้าหน้าหนาวจะมีจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลมากขึ้น

           ดังนั้นวันนี้ สุขภาพดีดี.com ได้ทำการรวบรวมโรคต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูนี้ได้ และ เตือนภัย โรคที่มากับหน้าหนาว เพื่อที่ทุกคนจะได้ป้องกันได้ทันท่วงทีค่ะ

 

ไข้หวัด

           คือโรคพื้นฐานที่เป็นได้แทบจะทุกฤดูกาล แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวอาจจะเป็นได้ง่ายกว่าปกติถึง 2 เท่า ไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ เชื้อที่พบบ่อยคือเชื้อ “ไรโนไวรัส” (Rhinovirus)

 

           เกิดจาก : อากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เมื่อร่างกายอ่อนแอ เชื้อไวรัสก็เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย

           อาการ :  คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม คันคอ นำมาก่อน จากนั้นจะเริ่มมีไข้ หนาวสั่น ปวดศรีษะ และปวดเมื่อยตามตัว

           วิธีรักษา :  หากเป็นไข้หวัดจากเชื้อไวรัส การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ ทานอาหารครบ 5 หมู่ ทานวิตามินและอาหารเสริมเพิ่มเติม ก็สามารถหายเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งยารักษา

 

ไข้หวัดใหญ่

           ไข้หวัดใหญ่ มีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดาแต่รุนแรงกว่า และหากปล่อยไว้จนมีอาการแทรกซ้อนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส “อินฟลูเอนซา” (Influenza virus) ทางระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน

 

           เกิดจาก : เชื้อไวรัส อินฟลูเอ็นซา (influenza virus) ที่มักพบมากในฤดูหนาว

           อาการ :หนาวสั่น ไข้ขึ้นสูง เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและศีรษะอย่างรุนแรง และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย

           วิธีรักษา : ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม หรือป้องกันโดยการฉีดวัคซีน

 

โรคหัด


           หัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า “รูบีโอราไวรัส” (Rubeola virus) เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็ก อาการก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ และหายได้เอง แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ โรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม อุจจาระร่วง สมองอักเสบ และหูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น ทั้งนี้หัดจะติดต่อทางลมหายใจ ไอ จาม กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดโรคนี้คือวัยเด็กช่วงอายุ 5 – 9 ปี

           เกิดจาก : เชื้อไวรัสรูบีโอรา (Rubeola virus) ติดต่อได้จากการ ไอ จาม น้ำลายของผู้ป่วย มีระยะฟักตัวประมาณ 10-14 วัน

           อาการ : มีไข้ ไอมาก ตาแดง น้ำตาไหล มีตุ่มเล็กๆ สีแดงคล้ำขึ้นตามผิวหนัง มีและจะหายไปเอง ภายใน 7 วัน บางรายต่อมน้ำเหลืองหลังใบหูบวม

           วิธีรักษา :  เนื่องจากโรคหัดไม่ใช่โรคร้ายแรง การรักษาจึงสามารถรักษาตามอาการจนกว่าจะหาย นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนที่สามารถฉีดป้องกันได้ตั้งแต่เด็ก

 

 

ปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ

           เกิดจาก : บวม คือภาวะปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส จนทำให้มีหนองและสารปนเปื้อนภายในถุงลม ทำให้เนื้อปอดบริเวณนั้นไม่สามารถรับออกซิเจนได้ตามปกติ

           อาการ : แน่นหน้าอกหายใจไม่ออก ไอ มีเสมหะ มีไข้สูง มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจหรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำลง

           วิธีรักษา : ควรมาพบแพทย์ เพื่อรับยาปฏิชีวนะและยาลดไข้ ตามความเหมาะสมของอาการ นอกจากนี้การดื่มน้ำเยอะก็ช่วยลดเสมหะได้เช่นกัน

 

 

อุจจาระร่วง

           ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส “โรต้า” (Rotavirus) มักพบในเด็ก อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยกลุ่มที่พบบ่อยที่สุดคือเด็กอายุ 6 – 12 เดือน เพราะเด็กวัยนี้ยังมีภูมิต้านทานต่ำและมักมีพฤติกรรมหยิบสิ่งของเข้าปาก ซึ่งเพิ่มโอกาสให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น

           เกิดจาก : ไวรัสโรต้า (Rotavirus) ที่พบได้ง่ายในฤดูหนาว และ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กอายุ ต่ำกว่า 5 ปี

           อาการ : อาการคือ มีไข้ ถ่ายเหลวและอาเจียนอย่างหนัก จนอาจเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงถึงขั้นช็อกหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการตามที่กล่าวมา ควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

           วิธีป้องกัน : ในปัจจุบันได้มีวัคซีนป้องกันไวรัสนี้แล้ว โดยให้ทางปากในเด็กเล็ก (ไม่ได้ฉีดเหมือนวัคซีนชนิดอื่นๆ)

 

          หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพ หรือ ปรึกษาเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ สามารถแอด Line มาได้เลยที่ Line@ : @healthd หรือ Click ที่ลิงก์ด้านล่างค่ะ ทางเพจเรามีผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพและการรับประทานอาหารเสริม บริการตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 0 / 5. Vote count: 0