เทศกาลดื่มหนัก เสี่ยงโรคตับแข็ง
ตับ และตับอ่อน คือ อวัยวะที่หากเกิดความผิดปกติแล้วอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย ทั้งภาวะอักเสบเฉียบพลัน อักเสบเรื้อรัง เกิดก้อนเนื้องอกหรือถุงน้ำ (ซีสต์) หรือแม้แต่โรคร้ายแรงอย่างมะเร็งได้
นพ.สมสิทธิ์ ตันเจริญ ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านผ่าตัดผ่านกล้องโรคตับ ตับอ่อน ทางเดินน้ำดี และการปลูกถ่ายตับ ศูนย์ศัลยกรรม รพ.กรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า สาเหตุอันดับต้นๆที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับตับ คือ การดื่มแอลกอฮอล์ และงานวิจัยพบว่าผู้ชายมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับสูงกว่าผู้หญิง
ช่วงเทศกาลต่างๆ หรือช่วงสิ้นปีแบบนี้ มักจะมีการดื่มสังสรรค์กันเป็นปกติทั่วไป ซึ่งการดื่มนั้นถ้าหากดื่มในปริมาณที่พอดีนั้นจะไม่ส่งผลเสียกับร่างกายในระยะยาวเนื่องจากร่ายการของเรามีการกำจัดของเสียออกจากร่างกายอยู่เสมอ แต่ถ้าหากดื่มในปริมาณที่มากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดออกไหวนั้นจะเกิดการสะสมในระยะยาวและส่งผลเสียในอนาคตได้ ซึ่งสุขภาพดีดี.com มีความปรารถนาดีอยากให้ทุกท่านสุขภาพดี ได้รวบรวมข้อมูลดีๆมาให้อ่านกันค่ะ เพราะช่วง เทศกาลดื่มหนัก เสี่ยงโรคตับแข็ง และอันตรายถึงตาย
เมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากและต่อเนื่องส่งผลต่อการเกิดโรคตับ โดยระยะแรกเกิดภาวะไขมันพอกตับจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic fatty liver disease) ซึ่งระยะนี้มักไม่มีอาการ และถ้าหยุดดื่มตับสามารถกลับมาปกติได้ใน 4-6 สัปดาห์ ถ้ายังดื่มต่อเนื่อง ร้อยละ 20-40 ของผู้ป่วยจะเกิดตับอักเสบเรื้อรัง (Alcoholic steatohepatitis) และพังผืด (fibrosis) ในเนื้อตับและร้อยละ 20 เข้าสู่ภาวะตับแข็ง (Alcoholic cirrhosis) ในเวลาประมาณ 10 ปี
ระยะตับแข็งเริ่มต้น (compenstaed cirrhosis) ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย พยาธิสภาพในตับมีพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับปริมาณมากขึ้นทำให้ตับมีลักษณะรูปร่างเปลี่ยนแปลงและการทำงานลดลงเข้าสู่ตับแข็งระยะท้าย (decompensated cirrhosis)
จะมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ดีซ่าน ท้องมาน (ascites) ขาบวม ขาดสารอาหาร ซึมสับสน (hepatic encephalopathy) อาเจียนเป็นเลือดจากเส้นเลือดขอดในทางเดินอาหาร ไตวาย ติดเชื้อง่ายและเสียชีวิตในที่สุด มีการศึกษาติดตามผู้ป่วยตับแข็งจากแอลกอฮอล์นาน 5, 10, 15 ปีพบว่าอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 71,84 และ 90 ตามลำดับ
ปัจจัยสำคัญทำให้เสียชีวิตคืออายุมากและยังดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในผู้ป่วยตับแข็งและเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ท้องมานหรือเลือดจากเส้นเลือดขอดในทางเดินอาหาร หรือมีอาการซึมสับสน พบว่าภายใน 1 ปี มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 49 ในและร้อยละ 64 ตามลำดับ
ดื่มมากแค่ไหนถึงจะเป็นโรคตับแข็ง |
อ้างอิงจากการศึกษาพบว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าวันละ 80 กรัมหรือ 5 หน่วย เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี สามารถที่จะก่อให้เกิดตับแข็งได้ ผู้ที่บริโภคสุราในปริมาณดังที่กล่าวแล้วมีเพียงร้อยละ 15 – 20 เท่านั้นที่จะเกิดตับแข็ง
ในประเทศไทยอาจจะมีความรุนแรงมากกว่าในงานวิจัย แต่อย่างไรก็ตามอาการของคนที่เป็นโรคตับแข็งนั้นจะไม่แสดงอาการให้เห็นได้ชัด แต่จะเห็นได้ชัดจากอาการแทรกซ้อน ดังนั้นจะเป็นการดีหากมีการสังเกตตัวเองอยู่ตลอดเวลา
โรคตับแข็งเสี่ยงกับใครมากกว่า |
- เพศ ผู้หญิงจะเกิดเป็นทั้งตับอักเสบ และ ตับแข็งได้เร็วกว่าและแม้ว่ากินน้อยกว่าผู้ชาย และผู้หญิงจะมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่าในขณะที่กินเท่ากันกับผู้ชาย อธิบายจากผู้หญิงมีการกระจายของกล้ามเนื้อ ไขมันต่อแอลกอฮอล์น้อยกว่าผู้ชาย และผู้หญิงมีการดูดซึมแอลกอฮอล์มากกว่าผู้ชายนั่นเอง
- กรรมพันธุ์ (hereditary : alcohol metabolism) ปกติพิษของเหล้าจะเกิดหลังเหล้าผ่านตับ จะเปลี่ยนเป็นพิษที่เรียกว่า Acetaldehyde โดยผ่านเอนไซม์หลายชนิด พบว่ากรรมพันธ์ในการสร้างสารพิษจากเหล้าในแต่ละคนไม่เหมือนกัน
- ภาวะโภชนาการ (Nutrition) คนที่ทีภาวะน้ำหนักเกินนั้นมีความเสี่ยงที่จะโอกาสเกิดโรคตับแข็งได้มาก
- การมีไวรัสตับอักเสบทำลายตับร่วมด้วย โดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบซี ควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด
- การดื่มขณะท้องว่าง ดื่มพร้อมอาหารไขมัน, ดื่มไม่ผสม, ดื่มหนักเป็นพัก ๆ แย่กว่าการดื่มเพียงเล็กน้อยเรื่อย ๆ
เหล้าทำลายส่วนอื่นของร่างกายหรือไม่ |
- ระบบสมอง ระบบประสาท (Neurologic) : ได้แก่ภาวะมือสั่น สับสนตกใจง่าย (Delirium tremen), ตากลอกผิดปกติ (Wernicke-korsakoff syndrome), เวียนศีรษะ งง (Cerebellar degeneration), มีอ่อนแรงแขนขา (แบบ Central pontine myelinolysis), ตะคริวง่าย เป็นต้น
- ระบบทางเดินอาหาร : เช่น กระเพาะอักเสบ, อาจเป็นโรคมะเร็งของคอ กล่องเสียง หลอดอาหารได้ง่ายกว่าคนปกติได้ ท้องเสีย, ภาวะการดูดซึมอาหารผิดปกติ ( malabsorption), ภาวะตับอ่อนอักเสบ ภาวะท้องเสีย ถ่ายเป็นไขมัน เป็นต้น
- โรคหัวใจ : อาจมีหัวใจเต้นผิดปกติ, โรคเส้นเลือดหัวใจ, ความดันโลหิตสูง, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจโตแบบ cardiomyopathy
- ภาวะเกลือแร่ผิดปกติ (Metabolic): ภาวะน้ำตาลสูงง่าย บางรายอาจเป็นเบาหวานได้ด้วย, ภาวะไขมันสูงผิดปกติ, เกลือแร่ มักเนเซียมต่ำ, ฟอสเฟตต่ำ, ภาวะกรดคีโตนสูง (Ketoacidosis), ภาวะเป็นหมัน หรือ อัณฑะฝ่อ (hypogonadism)
- โรคระบบเลือดผิดปกติ เช่นภาวะซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ และ เกร็ดเลือดต่ำ หรือ สูง