ใจพังไม่อันตรายเท่าไตพัง

  • Last modified on:3 ปี ago
  • Reading Time:1Minute
  • Post Words:11Words
  • PostView Count:160Views

ใจพังไม่อันตรายเท่าไตพัง

 

              ใครกำลังอยู่ในสภาวะอกหักหรือใจพัง ฟังทางนี้ก่อน!! สภาวะอกหักอาจจะทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดไปทั้งหัวใจ แต่รู้หรือไม่ว่าการที่เราอกหักก็ยังจะพอมีข้อดีบ้าง เช่น  จะทำให้เราสามารถรับมือกับความทุกข์ของตัวเราเองได้ดีขึ้น, หันมารักตัวเองและคนรอบข้างมากขึ้น, มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่รอบตัวเรามากขึ้น เป็นต้น 

 

ใจพังไม่อันตรายเท่าไตพัง

              แต่สิ่งที่อันตรายไปกว่าใจพังคือบางคนเมื่ออกหักแล้วพฤติกรรมต่างๆก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป กินข้าวน้อยลง ไม่อยากทำอะไร จนส่งผลกระทบกับสุขภาพโดยรวม ซึ่งสุขภาพในส่วนอื่นของร่างกายเรานั้นพังไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น อวัยวะที่สำคัญในร่างกายคือ ” ไต ”

 

              ” ไต “ มีหน้าที่ขับของเสียต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายออกทางปัสสาวะ ทำให้เลือดและร่างกายคนเราสะอาด ซึ่งของเสียที่ไตต้องขับออกส่วนหนึ่งมาจากการเผาผลาญอาหารในร่างกาย และอีกส่วนหนึ่งมาจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ถ้าคนเราไม่มีไต หรือไตวายหยุดทำงาน ของเสียเหล่านี้จะคั่งค้างอยู่ในกระแสเลือดและในร่างกาย ทำให้เลือดและร่างกายสกปรก ในที่สุดอวัยวะต่างๆ ในร่างกายก็จะเป็นพิษ หยุดทำงานและเสียชีวิตได้

 

              คำถามก็คือ ไตเราจะพังได้จากสาเหตุอะไรบ้าง ? วันนี้ สุขภาพดีดี.com รวบรวมสาเหตุที่จะทำให้ไตพัง มาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ 

 

สาเหตุที่ทำให้ไตพัง

 

  • ดื่มน้ำมากเกินไปก็ทำให้ไตพัง
    สาเหตุนี้ใครหลายคนอาจจะไม่รู้เนื่องจาก ณ ปัจจุบันมีเทรนด์การให้ดื่มน้ำเยอะๆเพื่อผิวที่ดี และการขับถ่ายที่ดี แต่รู้หรือไม่ว่า การดื่มน้ำที่มากเกินไปนั้นจะทำให้ไตทำงานหนักจนเกินไป และอาจเป็นผลทำให้ไตวายได้สำหรับคนที่ไตมีความผิดปกติ
  • การสูญเสียเลือดหรือน้ำในร่างกายมากเกินไป
    ส่งผลให้ไตเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงานลงอย่างเฉียบพลัน
  • ความดันโลหิตสูง
    ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดที่ไหลเวียนเลือดไปที่ไตผิดปกติ หากมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา  อาจเป็นสาเหตุหนึ่งให้ไตเสื่อมได้ในที่สุด
  • โรคเบาหวาน
    ระดับน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลต่อไตทำให้ไตเสื่อม ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นไตวายเรื้อรัง
  • อาการแพ้อย่างรุนแรง
    อาการแพ้อย่างรุนแรงจนทำให้ระบบการทำงานในร่างกายล้มเหลว ส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต
  • การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายล้มเหลว
    อาทิ หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว ตับล้มเหลว ที่กระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดทั่วร่างกายจนทำให้ไตได้รับเลือดไปไหลเวียนไม่เพียงพอ
  • การติดเชื้อในร่างกาย
    การติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียบางชนิด เมื่อแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด เชื้อโรคเหล่านี้จะถูกพาไปยังไต และทำให้ไตถูกทำลาย
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
    อาทิ ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) หรือ ยานาพรอกเซน (Naproxen) หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป หรือซื้อใช้เองโดยไม่อยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร อาจนำมาสู่ภาวะไตเสื่อม
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ
    โรคทางเดินปัสสาวะ อย่างลิ่มเลือดอุดตันในทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโตในเพศชาย นิ่วในไต หรือโรคมะเร็งที่ส่งผลให้เกิดก้อนเนื้อไปขัดขวางระบบทางเดินปัสสาวะจนทำให้ไตขับปัสสาวะออกมาไม่ได้ และเกิดภาวะเสื่อมของไตในที่สุด
  • ร่างกายได้รับสารพิษ
    เมื่อสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะพยายามขับออกมาทางปัสสาวะ ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น สารพิษบางชนิดอาจทำลายไตจนทำให้ไตวายได้

 

ที่มาข้อมูล : ไตวาย

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 0 / 5. Vote count: 0