ไซนัสอักเสบ
ไซนัส (Paranasal Sinuses) เป็นโพรงอากาศบริเวณใบหน้าและฐานของกระโหลกศีรษะที่มีรูเปิด ติดต่อกับช่องจมูก ภายในไซนัสมีเยื่อบาง ๆ บุอยู่แบบเดียวกับเยื่อบุในช่องปาก เยื่อบุบาง ๆ นี้ต่อเป็นผืนเดียวกันกับเยื่อบุภายในช่องจมูกและปาก และเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ไซนัสอักเสบ
ไซนัสอักเสบ หมายถึงโรคหรือภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อบุภายในไซนัสซึ่งเกิดจากการติดเชื้อหรือภูมิแพ้ในร่างกาย ทำให้เยื่อบุภายในเปิดการผิดปกติ และทำให้ช่องจมูกบวมและเกิดการอุดตัน
หากเกิดการผิดปกติ ร่างกายของเราจะผลิตสารคัดหลั่งเมือกเหลวขึ้นมามากจนเกิดการอุดตันจนกลายเป็นหนองอักเสบหรือน้ำมูกเขียวข้น คนไข้โรคไซนัสอักเสบส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และปวดบริเวณไซนัสที่อักเสบอยู่บ่อยๆ และรวมถึงมีอาการป่วยอื่นๆ ร่วมด้วย สุขภาพดีดี.com ได้นำข้อมูลข่าวสารดีๆมาให้ทุกคนอ่านกันค่ะ
อาการไซนัสอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร? |
- เมื่อเราป่วยเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ร่างกายของเราจะมีการเปลี่ยนแปลง และจะเกิดการบวมของเยื่อบุภายในช่องจมูกและไซนัสรูเปิดที่ติดต่อกันระหว่างจมูกและเกิดอาการไซซนัสตีบตัน ถ้าการบวมของเยื่อภายในช่องจมูกและไซนัสหายสนิทภายใน 7 – 10 วัน จะไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับไซนัส แต่ถ้าไม่หายสนิท 0.5 – 10 เปอร์เซ็นต์อาจเป็นบ่อเกิดอาการไซนัสอักเสบได้
- โรคภูมิแพ้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคไซนัสได้ เพราะภูมิแพ้ทำให้เยื่อบุภายในช่องจมูกและไซนัสบวมมีอาการเป็นๆ หายๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งเราอาจจะเจอกับปัญหาโรคภูมิแพ้ได้มากขึ้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่สกปรก มลภาวะต่างๆ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรวดเร็ว ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้
- ความผิดปกติภายในช่องจมูก ซึ่งอาจมองเห็นได้จากภายนอกหรือการตรวจภายในช่องจมูก ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้อากาศถ่ายเทภายในช่องจมูกผิดไปจากปกติ ทำให้เกิดการอุดตันของรูเปิดไซนัสและสร้างปัญหาไซนัสอักเสบตามมาได้
- ฟันผุ อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ไซนัสอักเสบได้ เนื่องจากอาจจะเกิดการติดเชื้อที่รากฟันและเข้าสู่ไซนัสบริเวณแก้มได้ง่าย เพราะกระดูกที่คั่นระหว่างรากฟันกับไซนัสบางมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูง อายุ มักเป็นที่ไซนัสข้างเดียว น้ำมูก เสมหะ และการหายใจอาจมีกลิ่นเหม็น ไซนัสอักเสบที่มีสาเหตุมาจากฟันผุมักจะเป็นฟันซี่ใดซี่หนึ่งเท่านั้น
อาการแบบไหนถึงเรียกว่าไซนัส? |
เนื่องจากโรคไซนัสอักเสบ เป็นโรคที่เกิดอาการในบริเวณโพรงจมูก ดังนั้นคนทั่วไปจะคิดว่าเป็นอาการคัดจมูกธรรมดาทั่วไป เพราะเกิดจากการเป็นไข้หวัดหรือหวัดธรรมดา หรือแม้กระทั่งในบางกรณีที่เป็นบ่อยๆ จะคิดว่าตนเองนั้นเป็นโรคภูมิแพ้อาจอาการคล้างคลึงกัน แต่ในความจริงแล้ว อาการแพ้อาการ อาการไข้หวัด และไซนัสอักเสบนั้น มีความแตกต่างกันอยู่มาก วันนี้เราจะมาบอกวิธีสังเกตอาการ ถ้าใครมีอาการดังต่อไปนี้ก็ให้สงสัยได้ว่า โรคไซนัสอักเสบกำลังถามหา และควรพบแพทย์เพื่อหาการวินิจฉัยและรับการรักษาให้ตรงโรคต่อไป
- มีน้ำมูกหรือมีเสมหะที่มีลักษณะข้น สีเหลืองหรือเขียวในลำคอ หรือไหลลงคอ
- หายใจติดขัด อึดอัด คัดจมูก
- ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือคนรอบข้างบอกว่ามีกลิ่น
- ไอ เจ็บคอ
- ปวดฟัน
- การรับรู้กลิ่นหรือรสชาติแย่ลง
- ปวดบริเวณหัวตา หน้าผาก โหนกแก้ม จมูกบริเวณระหว่างคิ้ว และรอบๆ กระบอกตา
- อาจปวดหัว มีไข้ อ่อนเพลีย หรือไอเรื้อรังร่วมด้วย
ไซนัสมีอาการแทรกซ้อนอย่างไร |
ไซนัสไม่เพียงแต่จะมีอาการเฉพาะของตัวโรคเท่านั้น แต่ถ้าหากปล่อยเอาไว้นานจะมีอาการต่างๆที่ตามมาในอนาคตทั้งในทางตาและทางสมอง ดังนี้
- ทางตา จะมีอาการที่ต้องสงสัย ได้แก่ ตาบวม เจ็บตา กลอกตาแล้วเจ็บ มองเห็นภาพซ้อนหรือ เห็นภาพไม่ชัด เป็นต้น
- ทางสมอง จะมีอาการที่ต้องสงสัย ได้แก่ ปวดศีรษะ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน มองเห็นภาพซ้อนหรือ เห็นภาพไม่ชัด กล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่วมกับไข้สูง เป็นต้น
การรักษาโรคไซนัสอักเสบ |
- ในผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่ให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด, ให้ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือและให้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก
- ในผู้ป่วยไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่มาก เช่น ปวดเล็กน้อย ไข้ต่ำกว่า38.3°C แนะนำให้สังเกตอาการและจะให้ใช้ยาต้านจุลชีพเมื่ออาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น หรือเลวลงภายใน 7 วัน อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงอายุ สุขภาพโดยทั่วไปและโรคประจำตัวของผู้ป่วยด้วย
- ยาต้านจุลชีพชนิดแรกที่ควรให้ คือ amoxicillin และควรให้เป็นระยะเวลา 10-14 วัน (ถ้าแพ้ penicillin อาจพิจารณาให้ trimethoprim/ sulfamethoxazole หรือ macrolides) และถ้าให้ยาต้านจุลชีพ 7 วัน แล้วไม่ดีขึ้น เชื้อก่อโรคอาจไม่ใช่แบคทีเรีย หรือเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยา ดังนั้นควรทำการเพาะเชื้อเพื่อ จะได้ใช้ยาที่เหมาะกับเชื้อก่อโรคนั้นๆ และเปลี่ยนยาต้านจุลชีพเป็นชนิดอื่นระหว่างรอผลเพาะเชื้อ หากผู้ป่วยเคยได้รับยาต้านจุลชีพมาก่อนภายใน 6 สัปดาห์ก่อน หรือในผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้าง รุนแรง อาจต้องพิจารณาเปลี่ยนกลุ่มหรือขนาดยา ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกสามารถใช้ในการรักษาไซนัสอักเสบเฉียบพลันด้วย เพื่อบรรเทาอาการผู้ป่วย