5 เคล็ดลับดูแลตับแบบง่ายๆ

  • Last modified on:3 ปี ago
  • Reading Time:2Minutes
  • Post Words:37Words
  • PostView Count:182Views

5 เคล็ดลับดูแลตับแบบง่ายๆ


         ตับ ถือเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญมากในร่างกายอยู่บริเวณชายโครงขวาใต้กระบังลม มีน้ำหนักประมาณ 2.5% ของน้ำหนักตัว และมีความยาวประมาณ 7 นิ้ว เป็นอวัยวะที่มีเลือดมาเลี้ยงมากประมาณ 1500 cc. ต่อนาที หรือ 1 ใน 4 ของเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที ซึ่ง 

         หน้าที่ของตับ คือ สร้างน้ำดีวันละประมาณ 500 – 1000 CC. เพื่อย่อยอาหารไขมัน สร้างโปรตีน Globulin Albumin และสร้างโปรตีนที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด กำจัดสารพิษต่างๆ ได้แก่ ยาบางชนิดและแบคทีเรียบางชนิด และเป็นแหล่งเก็บพลังงานให้ร่างกายในรูปของแป้ง (Glycogen) ตับสามารถนำ Glycogen มาสลายเป็นพลังงานให้แก่ร่างกายได้ 

         วันนี้สุขภาพดีดี.com ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ 5 เคล็ดลับดูแลตับแบบง่ายๆ มาดังนี้ค่ะ

 

1. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่

         เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปจะเริ่มทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับตับ เช่น โรคไขมันสะสมในตับ (Fatty liver disease) ซึ่งเป็นโรคตับที่ไม่รุนแรงและสามารถหายเป็นปกติได้ถ้าหยุดดื่ม แต่ถ้ายังมีการดื่มต่อเนื่องก็จะทำให้เป็นโรคที่รุนแรงขึ้น เช่น โรคตับอักเสบ หรือโรคตับแข็งซึ่งเป็นโรคตับจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่รุนแรงที่สุด

 

         โรคตับแข็งแบ่งเป็นได้เป็นโรคตับแข็งระยะต้น (Compensated cirrhosis) และโรคตับแข็งระยะท้าย (Decompensated cirrhosis) ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีโรคตับแข็งระยะต้นจะมีอาการน้อยหรืออาจไม่มีอาการเลย แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมก็มีแนวโน้มที่จะมีการดำเนินของโรคไปเป็นโรคตับแข็งระยะท้ายที่จะมีอาการรุนแรงและมักมีภาวะแทรกซ้อน

 

         ซึ่งโดยปกติแล้วเนื้อเยื่อตับสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ถ้าหากเซลล์ได้รับความเสียหายมากเกินไปก็จะกลายเป็นเหมือนแผลเป็นที่เป็นพังผืดถาวร ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากความสามารถในการกำจัดของเสีย สารเคมี และยา นั้นลดลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้สารพิษตกค้างอยู่ในร่างกาย

 

2. ตัวช่วยจากธรรมชาติเร่งการฟื้นฟูตับ

         ตับมีหน้าที่กำจัดสารพิษให้ร่างกายเราทุกวัน หากเรารับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากๆจะทำให้ร่างกายเราสะสมสารพิษมาก ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างากายและมีส่วนในการบำรุงตับ ดังต่อไปนี้

  1. กะหล่ำปลี : เนื่องจากในกะหล่ำปลีมีส่วนช่วยเพิ่มกลูต้าไธโอนในร่างกาย ทำให้ล้างสารพิษ บำรุงตับได้เป็นอย่างดี
  2. แครอท : เพราะในแครอทมีวิตามินหลากหลายชนิด ทั้งวิตามิน A, B1, B2, C, D และ K อีกทั้งยังมีกรดโฟลิกฟอสฟอรัส โซเดียม โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสี และทองแดง ซึ่งทั้งหมดนี้มีคุณสมบัติช่วยบำรุงตับตามศาสตร์แพทย์แผนจีน
  3. เกรปฟรุต : เป็นผลไม้ที่มีวิตามิน C และสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้จะช่วยล้างพิษในตับ ลดความเสี่ยงมะเร็ง
  4. อะโวคาโด : เป็นสุดยอดผลไม้เพื่อสุขภาพ คนนิยมรับประทานเพื่อการลดน้ำหนัก แต่อย่างไรก็ตามอะโวคาโดยังมีความสามารถในการขจัดสารพิษ และบำรุงร่างกายแบบองค์รวมเท่านั้น แต่อะโวคาโดยังช่วยบำรุงตับได้เป็นอย่างดี เพราะมีกลูต้าไธโอน กรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6
  5. มันเทศ : เพราะเป็นอาหารบำรุงตับที่มีกลูโคชิโนเลต ซึ่งเป็นสารอาหารที่อยู่ในพืชผัก เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อนผลิตเอนไซม์ต่อต้านสารพิษ และเอนไซม์ที่ช่วยในกระบวนการย่อยอาหาร ทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         ยังไม่หมดเท่านั้น!! ยังมีผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานเพื่อบำรุงตับ ชื่อว่า Prunus Mume (พรูนัส มูเม่) ที่มีชื่อเสียงในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับตับ เป็นพืชในวงศ์กุหลาบ มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น Umeboshi plum หรือผลแอพพริคอตญี่ปุ่น ในประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี มีการใช้พืชชนิดนี้ในทางอายุรเวชมาอย่างยาวนาน โดยเชื่อกันว่าแอพพริคอตญี่ปุ่นมีฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ จึงได้ถูกขนานนามว่า ภูมิปัญญาแห่งเอเชีย ซึ่งมีสรรพคุณดังนี้

  • เพิ่มกระบวนการเมตาบอลิซึมในตับ ลดปริมาณ คลอเลสเตอรอล และ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ ที่เป็นตัวการที่ทำให้ไขมันพอกตับ
  • กระตุ้นการสร้างสารต่อต้านอนุมูลอิสระและกำจัดสารพิษเซลล์ตับ
  • ยับยั้งตัวกลางการอักเสบในเซลล์ตับ
  • ลดค่า ตับอักเสบ ของเอนไซม์ตับ ALT และ AS

3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

         หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเก่าเก็บ อาหารแช่แข็ง อาหารแปรรูป หรืออาหารผ่านการปรุงแต่ง เพราะอาจมีสารเคมีหรือสิ่งปนเปื้อนได้ เช่น สารโลหะหนัก สารก่อมะเร็ง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรรับประทานในปริมาณน้อยหรือนาน ๆ รับประทานที อีกทั้งหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการไปรับเชื้อไวรัสตับอักเสบและพยาธิใบไม้ตับ

         หลีกเลี่ยงอาหาร เช่น การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อหมูดิบ เนื่องจากในเนื้อหมูดิบนั้น ส่วนใหญ่เราจะพบพยาธิที่มีชื่อว่า พยาธิไส้เดือน (Ascariasis) มีลักษณะคล้าย ๆ กับไส้เดือนดิน คือ ตัวกลม ๆ และเรียวยาว โดยจะเข้าสู่ร่างกายของหมูผ่านการกินอาหารที่ปนเปื้อนไข่ของพยาธิ ไข่พยาธิจึงเข้าไปเจริญเติบโตตามอวัยวะต่าง ๆ ของหมู ดังนั้น หากเราบริโภคหมูดิบที่มีตัวพยาธิ หรือระยะตัวอ่อนที่มีลักษณะเป็นเม็ดสาคูเข้าไป พยาธิก็อาจเข้าไปเจริญเติบโตในร่างกายของเราได้ และจะทำให้เรามีอาการบางอย่างที่เกิดจากพยาธิชนิดนี้ เช่น อาการไม่สบายท้อง แน่นหน้าอก มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ลำไส้อุดตัน

 

 

4. ไม่ควรทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

         เนื่องจากการรับประทานยาบางชนิด หรือรับประทานยาในปริมาณมากเกินไป ส่งผลเสียต่อตับมากเนื่องจากจะทำให้ตับทำงานหนัก และอาจจะทำให้มีสารตกค้างในตับ ซึ่งจะส่งผลเสียในระยะยาว  ซึ่งหลักการใช้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัย 

  • ก่อนใช้ยาทุกครั้งต้องอ่านฉลากยาให้เข้าใจ อ่านให้ละเอียด และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และ ใช้ยาให้ตรงกับโรค โดยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ เพราะจะทำให้ไม่เป็นอันตราย
  • ใช้ยาให้ถูกกับบุคคล ควรใช้ยาให้ถูกกับสภาพของบุคคลเพราะร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น ยาที่ให้เด็กกินต้องมีปริมาณไม่เท่ากับผู้ใหญ่ ยาบางชนิดไม่ควรให้หญิงมีครรภ์กินเพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูกในท้องได้ 
  • ใช้ยาให้ถูกขนาด ควรใช้ยาตามขนาดที่แพทย์หรือเภสัชกรกำหนดไว้ เพราะถ้าใช้เกินขนาดอาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย หรือถ้าใช้น้อยไปอาจจะทำให้การรักษาโรคไม่ได้ผลดี 
  • ใช้ยาให้ถูกเวลา ยาแต่ละชนิดจะกำหนดระยะเวลาที่ใช้เอาไว้ เนื่องจากยาบางชนิดหากทานไม่ถูกเวลาจะส่งผลเสียกับร่างกายมากกว่าผลดี

5. นอนหลับให้เป็นเวลาและพักผ่อนให้เต็มที่

         ในช่วงเวลา 22:00 น.  – 02:00 น. เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของมนุษย์จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ถ้าหากเรานอนหลับไม่เต็มที่จะทำให้ร่างกายสูญเสียสมดุล และส่งผลเสียกับตับเนื่องจากจะทำให้กระบวนการการล้างพิษของตับนั้นเสื่อมสภาพลง ถ้าหากร่างกายเราไม่ได้ขับสารพิษออก ก็จะทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย ดังนั้นเราควรพักผ่อนให้เป็นเวลา และให้ความสำคัญกับการนอนหลับเป็นสำคัญ

         ถ้าหากอ้างอิงตามวงจรการนอนหลับในคนปกติทั่วไป มักใช้เวลาตั้งแต่ 30 วินาที – 7 นาที เป็นสภาพที่แม้จะได้รับการกระตุ้นเพียงเล็กน้อยก็จะตื่น จากนั้นเข้าสู่การหลับระยะต่าง ๆ

  1. หลับตื้น เป็นระยะแรกที่มีการหลับตื้นอย่างแท้จริง แต่ยังไม่มีการฝัน
  2. หลับลึก ร่างกายจะเข้าสู่โหมดพักผ่อนเมื่อเข้าสู่ระยะหลับลึกเป็นช่วงหลับสนิทที่สุดของการนอนใช้เวลา 30 – 60 นาที ช่วงระยะนี้อุณหภูมิร่างกายและความดันโลหิตจะลดลง อัตราการเต้นของหัวใจลดลงเหลือประมาณ 60 ครั้งต่อนาที โกรทฮอร์โมนจะหลั่งในระยะนี้

         หลับฝันอีกระยะหนึ่งที่สำคัญคือ ช่วงหลับฝันร่างกายจะได้พักผ่อน แต่สมองจะยังตื่นตัวอยู่ นอกจากนี้การหลับฝันยังช่วยจัดระบบความจำในเรื่องของทักษะต่าง ๆ ดังนั้น การนอนหลับที่ดีต้องได้ทั้งชั่วโมงการนอนและคุณภาพการหลับด้วย

 

         แม้ว่าบางคนนอนหลับเพียง 4 – 5 ชั่วโมง แล้วตื่นมาสดชื่น ถ้าหากเป็นการนอนหลับพักผ่อนแบบหลับตื้น จะสามารถทำให้ร่างกายสดชื่นได้ หากสังเกตว่าตื่นมาสดชื่นแต่ความสามารถในเรื่องอื่น ๆ ลดลง นั่นแสดงว่า ชั่วโมงการนอนไม่เพียงพอ ควรที่จะนอนหลับให้นานกว่านั้น เพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์การนอนของแต่ละระยะให้นานขึ้น หรือบางคนนอนมากกว่า 7 – 8 ชั่วโมง แต่ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น เป็นไปได้ว่าชั่วโมงการนอนเพียงพอ แต่คุณภาพการนอนไมได้ คือได้แค่หลับตื้นไม่เข้าสู่ระยะหลับลึก

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 0 / 5. Vote count: 0