หอบหืด และ การดูแลในแต่ละช่วงวัย

  • Last modified on:4 ปี ago
  • Reading Time:2Minutes
  • Post Words:30Words
  • PostView Count:227Views

หอบหืด

เป็นโรค ที่มีสาเหตุมาจากภูมิแพ้ ทั่วไปจะมีอาการไอ ในตอนเช้า และ ตอนกลางคืน

คัดจมูก น้ำมูกไหล ปัจจุบันพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ถึงร้อยละ 10 จากประชากรทั้งหมด ในประเทศไทย

มีประชากรที่เป็นโรคหืด ประมาณ 3 ล้านคน  มีผู้ป่วยเสียชีวิต ปีละเกือบ 1,000 คน  ซึ่ง 2 ใน 3

ของผู้ป่วยทั้งหมด มักจะมีอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ และ โดยส่วนใหญ่แล้ว

โรคหืด มักจะพบในเด็ก มากกว่าผู้ใหญ่ ที่น่าสนใจก็คือ

โดยจะเริ่มเป็นได้ตั้งแต่ 2 ขวบ ถึง 5 ขวบแรก  และผู้ใหญ่ จะเริ่มประมาณ 30 ปีขึ้นไป

 

หอบหืด เกิดได้จาก 2 ปัจจัยหลัก คือ

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม  ผู้ป่วยโรคหอบหืด อาจมีอาการกำเริบ เมื่อถูกกระตุ้นจากปัจจัยต่าง ๆ อาทิ

การสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ (allergens) เป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดอาการ ที่มีผลทางระบบทางเดินหายใจ

ซึ่งอาการจะแตกต่างกัน ไปในผู้ป่วยแต่ละคน เช่น

 

 

  • ละอองเกสรดอกไม้ เกสรหญ้า ไรฝุ่น ขนสัตว์ มลพิษในอากาศ
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น เป็นไข้หวัด ไซนัสอักเสบ
  • สัมผัสอากาศเย็น
  • ออกกำลังกายหักโหมเกินไป
  • มีภาวะกรดไหลย้อน
  • รับประทานยาบางชนิด เช่น แอสไพริน
  • และยาในกลุ่มต้านอาการอักเสบ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน
  • สารกันบูดในอาหาร
  • ความเครียด

 

ปัจจัยทางพันธุกรรม

โรคหอบหืด เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีบิดา มารดา

หรือญาติเป็น จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ มากกว่าคนทั่วไป

ด้าน รศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล กล่าวว่า ในคนไข้ที่เป็นโรคหืด

สิ่งสำคัญ ที่ทำให้คนไข้เสียชีวิต เมื่อมีอาการแล้วดูแลตัวเองไม่ได้

พ่นยาไม่ทัน จึงทำให้เสียชีวิต เพราะฉะนั้นคนไข้ ที่เป็นโรคหืดจะได้รับการสอน

แผนปฏิบัติการณ์ เมื่อมีอาการหืดกำเริบ คือ เมื่อหอบแล้ว ต้องทำอย่างไร

มีอาการขนาดไหน ถึงต้องมาโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อเราสอนคนไข้ในเรื่องนี้

เราจำเป็นจะต้องสอนบ่อย ๆ สอนซ้ำ ๆ เมื่อคนไข้จำไม่ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า

ในบางคนในหนึ่งปี หอบแค่ครั้งเดียว เมื่อเกิดอาการขึ้นมา ไม่สามารถจำกระบวนการ

การแก้ปัญหาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แล้วการดูแล ควรทำอย่างไร  ?

 

ปัญหาในการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ในแต่ละวัย  มีความแตกต่างกัน ในแต่ละช่วงอายุขึ้นอยู่กับ

  • ความสามารถในการพ่นยา ของผู้ป่วยในแต่ละวัย
  • ข้อจำกัดในการตรวจสมรรถภาพปอด
  • โรคพบร่วม
  • การร่วมมือในการรักษา (compliance)
  • ดังนั้นทีมที่ดูแลรักษา จึงควรมีความเข้าใจปัญหา ในการดูแลผู้ป่วยแต่ละวัย

 

 

การดูแลผู้ป่วย แต่ละช่วงอายุ

โรคหืดในเด็กเล็ก 

มักมีปัญหา ในการวินิจฉัยโรค เพราะสาเหตุของการหายใจเสียงวี้ด หรือ หอบมีได้หลายอย่าง

และ ไม่สามารถตรวจสมรรถภาพปอด (spirometry) ได้ ทำให้บางครั้ง ต้องอาศัยเพียงประวัติ

ร่วมกับการตอบสนองต่อการรักษา กรณีที่มีอาการหอบ

หายใจเสียงวี้ด แล้วตอบสนองต่อยาขยายหลอดลม

ให้คิดถึงโรคหืด และถ้าหอบซ้ำ ๆ อาจต้องลองรักษา ด้วยยาควบคุมอาการไปก่อน

อีกปัญหาที่สำคัญในวัยนี้ คือ การพ่นยา แนะนำให้เลือกอุปกรณ์พ่นยาชนิด MDI with spacer

 

 

โรคหืดในวัยรุ่น

ถือว่าเป็นวัยที่มีปัญหา ในการใช้ยามากที่สุด เพราะมักไม่ค่อยชอบพ่นยา

เนื่องจากอาจเสียความมั่นใจ ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง และ รู้สึกอายที่จะใช้ยา

ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยในวัยนี้ ควรเน้นการพูดคุย เสริมสร้างความเข้าใจ ให้สามารถดูแลตัวเองได้

สำหรับอุปกรณ์พ่นยา ใช้ได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่ MDI หรือ DPI

โดยควรให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจเลือกอุปกรณ์พ่นยา และ วางแผนการรักษาไปด้วยกัน

 

โรคหืดในหญิงตั้งครรภ์

อาจมีอาการหืดกำเริบได้ง่าย จากกลัวผลข้างเคียงของยา ที่อาจมีผลต่อทารกในครรภ์ ทำให้ไม่ใช้ยา

และ อาจมีโรคพบร่วมที่ทำให้อาการกำเริบได้ง่าย เช่น กรดไหลย้อน

ดังนั้นไม่แนะนำ ให้ลด หรือ หยุดยาควบคุมอาการเอง

และ อาจปรับยาที่สามารถใช้ได้ ในหญิงตั้งครรภ์ (Category B)

กรณีที่ไม่มียากลุ่มนี้ ก็สามารถใช้ยากลุ่มอื่นได้ โดยคำนึงถึง risk-benefit

 

โรคหืดในผู้สูงอายุ

ในวัยนี้จะมีความยาก และ ซับซ้อน ในการรักษามากขึ้น เพราะมีโรคที่พบร่วมเยอะ

ประกอบกับสมรรภภาพ ของร่างกาย และ สมองที่ทำให้ไม่สามารถพ่นยา บางประเภทได้

ดังนั้น การเลือกอุปกรณ์พ่นยา ควรคำนึงถึงแรงสูด (inspiratory flow) สมรรถนะ ทางสมอง

โรคข้อ อุปกรณ์พ่นยา ที่เหมาะสมคือ MDI with spacer แต่บางรายอาจพ่นยา DPI ได้

ดังนั้น จึงควรประเมิน วิธีพ่นยาเป็นระยะ เพราะความสามารถในการพ่นยา อาจลดลง

เมื่ออายุมากขึ้น นอกจากนี้ การใช้ยาชนิดรับประทานควรคำนึงถึง drug interaction

เพราะผู้ป่วยมักมียาหลายตัว เพื่อรักษาโรคอื่นด้วย…

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 0 / 5. Vote count: 0