สายตา ของวัย 40 คุณหมอแนะนำ 6 วิธีดูแลสายตา
ย่างเข้าหลักสี่ (อายุ 40ปี) เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องที่เห็นได้
สัมผัสได้ และสร้างความกังวล ของคนวัยนี้คือ เรื่อง สายตา ที่ ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
บางคนที่ไม่เคยมีปัญหาสายตาก็จะเริ่มมองระยะใกล้ไม่ชัด มักจะเผลอ
เลื่อนมือที่ถือเอกสาร หรือฉลากอาหารที่มีตัวอักษรตัวเล็ก ๆ ให้ออกห่างจากตัว
กลายเป็นท่าทางที่ เด็กนำมาล้อเลียน แสดงสัญญาลักษณ์ว่าเรานั้น กำลังแก่แล้ว
จนสายตาเริ่มยาว แต่ สำหรับคนที่เดิมเป็นคนสายตาสั้น อาการจะสาหัสกว่าคือ
ปัญหาสายตาสั้น ไม่ได้หมดไป แต่ กลับมีสายตายาว เข้ามาเพิ่ม !! ใช่แล้ว
ปัญหาคือ ในระยะไกลยังคงมองไม่ชัด เหมือนเดิม แถมเพิ่มความเบลอ
ในการมองระยะใกล้เข้ามาด้วย แว่นสายตาที่มีอยู่ก็เริ่มจะใช้งานไม่ได้
ต้องควักกระเป๋า ซื้อแว่นกันใหม่
ไม่ใช่เพียงแค่ ปัญหาสายตา ทั้งสั้น ทั้งยาว เท่านั้นแค่ ปัญหาสุขภาพดวงตา อื่นๆ
ก็ เตรียมยกพวก เรียงคิว เข้ามา เช่น ตาพร่ามัว ตาแห้ง จนแสบตา
การมองไม่เห็นในที่แสงน้อย หรือ แสงมาก อาการหนักๆ คือ ปัญหาจอตาเสื่อม
ซึ่งอาหารเหล่านี้ พบในวัย 40 ปี ขึ้นไปทั้งสิ้น
วันนี้ เว็บไซต์ สุขภาพดีดี ได้นำคำแนะนำของ คุณหมอผู้เชี่ยวชาญ ด้านดวงตา มาเล่าสู่กันฟัง
คุณหมอ นายแพทย์นพศักดิ์ ผาสุขกิจวัฒนา คุณหมอประจำภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้คำแนะนำ 6 หลัก ในการดูแล สุขภาพดวงตา
สำหรับวัย 40 ปี ซึ่งเป็นเรื่องง่าย ๆ ทำได้ทุกคนแน่นอน ดังนี้
- เริ่มต้นด้วยการ ตรวจสุขภาพดวงตา อย่างละเอียด เพื่อจะได้ทราบ อย่างชัดเจนว่า
- คุณภาพดวงตา และ สายตาเป็นอย่างไรจะได้รู้ วิธีการดูแล รักษา ได้อย่างถูกต้อง ที่สุด
- ดูแลสุขภาพร่างกายโดยรวมให้แข็งแรง อยู่เสมอ
- ใช้เทคนิคการประคบร้อน เพื่อช่วยลดอาการปวด ล้า ของดวงตา
- ปรับการใช้ชีวิต ให้สามารถมีเวลาพักผ่อน นอนหลับ ไม่น้อยกว่า 6-8 ชม เพื่อให้สายตาได้รับการพักผ่อน
- ลด หลีก เลี่ยง การใช้สายตา จากสมาร์ทโฟน โดยเฉพาะ ตอนที่อยู่ในที่มืด เช่น การดูมือถือก่อนนอน
- เพิ่มสารอาหารที่ สร้างภูมิคุ้มกัน เพิ่มความแข็งแรง ในดวงตา เช่น ทอรีน และ ลูทีน
2 สารอาหารสำคัญ บำรุงดวงตา ให้แข็งแรง
- ทอรีน
การขาดสารทอรีนในจอตาเป็นสาเหตุของการเสื่อมของจอตาอย่างรวดเร็ว
ซึ่งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เมื่อเร็วๆนี้
ได้มีการค้นพบว่าสารทอรีนมีส่วนสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเซลล์รับแสง
ของจอตาผลการศึกษาทอรีนสามารถฟื้นคืนจอตาที่เสื่อมได้
การรับประทานอาหารเสริมที่มีสารทอรีน
จึงมีความจำเป็นต่อผู้ที่มีอาการป่วยทางระบบสายตา
เช่น โรคต้อกระจก (Cataracts)และโรคจากตาเสื่อม
จากอายุ (age-related macular degeneration)
เพื่อป้องกันการขยายตัวของการเสื่อมของสายตาที่อาจมีมากขึ้น
สารทอรีนคืออะไร
ทอรีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและเป็นกรดอะมิโนกึ่งจำเป็นซึ่งร่างกายสามารถสังเคราะห์
ได้จากโปรตีนจากอาหารที่รับประทานทอรีนทำหน้าที่บำรุงเซลล์เมมเบรน (cell membrane)
ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ บำรุงเซลล์สมองทอรีนมีความเข้มข้นสูงในจอตา
การขาดสารทอรีนจะทำให้เซลล์จอตาเสื่อมขาดประสิทธิภาพในการมองเห็นอย่างรวดเร็ว
ซึ่งอาการจอตาเสื่อมจากการขาดสารอาหารสามารถฟื้นคืนได้จากการได้รับสารทอรีนเพิ่มขึ้น
แหล่งของสารทอรีน พบได้มากในเนื้อปลาทะเล เช่น ปลาทูน่า ไข่แดง
เนื้อแดงการรับประทานผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารที่มีสารทอรีนจึงเป็นสิ่งจำเป็น
ต่อการฟื้นฟูประสิทธิภาพของการมองเห็นของจอตา
2.ลูทีน (Lutein)
ลูทีน ช่วยป้องกันโรคจอตาเสื่อม (Macular Degeneration)ลูทีนเป็นสารในกลุ่มคาโรทีนอยด์
ซึ่งเป็นสารในกลุ่มเดียวกันกับเบต้าคาโรทีนและวิตมินเอและมักพบอยู่รวมกันกับสารซีเซนทีน (Zeaxantein)
ออกฤทธิ์ร่วมกันในการป้องกันการเกิดโรคจอตาเสื่อม อาหารที่มีลูทีนมากได้แก่ บล็อคโครี ผักโขม ข้าวโพด
และพบมากที่สุดคือในเมล็ดดอกคำฝอยลูทีนถูกเรียกว่า วิตมินดวงตาเพราะสามารถป้องกันโรคตาได้หลายโรค
เช่นโรคจอตาเสื่อมจากอายุ(Aged-related Macular Degeneration (AMD)) ต้อกระจกตาเป็นต้น
แพทย์หญิงโจฮานน่า เซดดอน และทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่าการรับประทานลูทีนปริมาณ 6มิลลิกรัมต่อวัน
ช่วยลดความเสี่ยงจาการเกิดโรคจอตาเสื่อมได้ถึง 43% นายจอห์น แลนดรัมและนายแพทย์ริชชาร์ด โบน
พบว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีลูทีน เป็นเวลา 140 วันช่วยให้ผู้มีอาการจอตาเสื่อม
สามารถฟื้นฟูเซลล์เม็ดสีในจอตาของผู้ป่วยให้ดีขึ้นถึง 20 %การรับประทานอาหารที่มีสารลูทีนสูงจะสามารถลดความเสี่ยง
ต่อโรคจอตาเสื่อมได้นอกจากนี้ยังพบว่าสารลูทีนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เลนส์ตาได้อีกด้วย
จึงสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อกระจกได้อีกด้วย
เทคนิค การเลือกซื้อ อาหารเสริม ที่มีส่วนผสมของ ทอรีน และ ลูทีน
- เลือกที่มี ปริมาณ ทอรีน ไม่น้อยกว่า 350 มิลลิกรัม เพื่อให้เพียงพอต่อการดูแลสุขภาพดวงตา
- ควรเลือก อาหารเสริมที่มี สารอาหารอื่นๆ เพื่อช่วยเสริมเพื่อการดูแล สุขภาพดวงตา แบบยกทีม เช่น
- เบต้าคาโรทีน
- สังกะสี ให้แร่ธาตุ ซิงส์
- กรด อัลฟ่าไลโปอิก แอซิค
- แร่ธาตุเซลิเนียม
และ ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องเลือก ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคุณภาพ อย่าลืมตรวจสอบ
เลขที่อย. สถานที่ผลิต และต้องมีผู้จัดจำหน่ายที่ชัดเจน และ แบรนด์
สินค้าต้องได้รับการยอมรับจาก ร้านขายยา และ เภสัชกร มามากกว่า 16 ปี
จึงจะวางใจได้ในคุณภาพ ของ ผลิตภัณฑ์ นั้น ๆ