นอนเท่าไรก็ง่วง อาจเป็นโรคนอนเกิน Hypersomnia

  • Last modified on:3 ปี ago
  • Reading Time:1Minute
  • Post Words:15Words
  • PostView Count:201Views

นอนเท่าไรก็ง่วง อาจเป็นโรคนอนเกิน Hypersomnia

             ใครเคยประสบปัญหานี้บ้าง นอนเท่าไร นอนนานแค่ไหนก็ไม่พอ ยังรู้สึกง่วงทุกครั้งที่ตื่นนอน แท้จริงแล้วอาจไม่ได้เป็นเพราะว่าเรานอนไม่พอ แต่อาจจะเสี่ยงกับการเป็น โรคนอนเกิน Hypersomnia ก็เป็นได้

 

             เนื่องจากปัญหาเรื่องการนอนนั้นมีทั้งการนอนไม่เพียงพอและการนอนมากเกินไป วันนี้เราจะทำความรู้จักเกี่ยวกับการนอนมากเกินไป (Hypersomnia) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ควรรีบมาพบแพทย์

 

             เพราะคนที่มีภาวะนี้จะมีลักษณะที่ต้องการการนอนเพิ่มขึ้นทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน มีภาวะตื่นยากมากจากการนอน เมื่อตื่นแล้วก็รู้สึกว่าต้องการนอนต่อไปอีก

             ระหว่างวันก็ต้องการงีบหลับหลายๆ ครั้ง  ซึ่งหากพบมีอาการหรือมีคนใกล้ตัวที่มีอาการแบบนี้แนะนำควรรีบนำมาพบแพทย์เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่างๆ ตามมาได้ สุขภาพดีดี.com ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อ นอนเท่าไรก็ง่วง อาจเป็นโรคนอนเกิน Hypersomnia มาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ เริ่มต้นกันที่สาเหตุ โทษ และวิธีการแก้ไข ดังนี้ค่ะ

 

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคนอนเกิน
  • อดนอน : อดนอนมาเป็นเวลานาน และบ่อย ๆ จนร่างกายพักผ่อนไม่พอ
  • นาฬิกาชีวิตเปลี่ยนไป : นาฬิกาชีวภาพในร่างกายแปรปรวน ปรับเวลาผิด เช่น เดินทางข้ามประเทศที่ต่างช่วงเวลากันมาก ๆ
  • ฮอร์โมน : ฮอร์โมนในร่างกายหรือสารเคมีในสมองไม่ปกติ ทำให้ร่างกานนอนมากผิดปกติ
  • การกรน : นอนกรน มีภาวการณ์หยุดหายใจในช่วงหลับ ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่พอ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต
  • ความผิดปกติในร่างกาย : เนื้องอกในสมอง สมองได้รับการบาดเจ็บ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับสมองต่างๆ
  • การรับประทานยาบางชนิด :  เช่น ยาแก้แพ้ ฯลฯ

 

โทษของการเป็น โรคนอนเกิน
  • กระทบต่อสมอง : สมองเฉื่อยชา สมองล้า กลายเป็นคนไร้ชีวิตชีวา
  • กระทบต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ : การทำงานของกระดูกกล้ามเนื้อและข้อลดประสิทธิภาพลง หากไม่ได้มีการเคลื่อนไหวนานๆ อาจมีผลทำให้กระดูกหรือกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง มีปัญหาข้อต่างๆ เคลื่อนไหวได้ยากตามมาได้
  • ปัญหาน้ำหนัก : น้ำหนักเกินมากกว่าเดิม เนื่องจากระบบการเผาผลาญไขมันลดลง มีการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น อันอาจนำไปสู่โรคต่างๆ อาทิเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
  • โรคซึมเศร้า : กลายเป็นคนซึมเศร้า การนอนมากๆ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน โดยเฉพาะ สารให้ความสุขต่อร่างกาย จำพวก “ เซโรโทนิน (Serotonin) ” และ “ เอนดอร์ฟิน (Endorphin) ” ลดต่ำลง
  • ภาวะมีบุตรยาก : อ้างอิงจากงานวิจัยพบว่าผู้ที่มีระยะเวลาการนอนอยู่ที่ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน จะทำให้มีโอกาสมีบุตรได้ง่ายขึ้น หากนอนน้อยหรือนอนมากจนเกินไปจะทำให้มีบุตรยากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 

วิธีการแก้ไข โรคนอนเกิน
  • เข้านอนให้เป็นเวลา : เข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่มเพื่อให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนดีๆ ต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะช่วยให้หลับได้ดีรวมไปถึงทำให้ร่างกายมีการฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • จัดห้องนอนให้โปร่ง : อากาศระบายได้ดี ถ้าหากร่างกายที่ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้สมองเซื่องซึม และง่วงนอนตลอดเวลา
  • ออกกำลังกาย :  สร้างออกซิเจนในเลือดให้มากขึ้น และเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ : ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และทานผักผลไม้ให้มากขึ้น

 

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล

กรมสุขภาพจิต

 

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 3 / 5. Vote count: 1