กินจุกจิกเสี่ยงต่อโรค

  • Last modified on:4 ปี ago
  • Reading Time:2Minutes
  • Post Words:28Words
  • PostView Count:335Views

กินจุกจิกเสี่ยงต่อโรค

การกิน ถือเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรม ที่ส่งผลต่อสุขภาพของเราได้โดยตรง

คนที่มีปัญหาในการกิน หรือ มีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ เช่น

กินเท่าไหร่ก็ไม่พอ ไม่หิวแต่ก็ยังกิน กินอาหารเยอะกว่าคนอื่นๆ

คุณอาจเข้าข่ายเป็น “โรค” ได้นะคะ โรคเกี่ยวกับการกินที่ปล่อยไว้

อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง ต่อสุขภาพร้ายแรงได้

กินจุกจิก ระวัง! โรคเหล่านี้อาจถามหา

หากคุณมีพฤติกรรมการกิน ที่ผิดปกติ อย่างโรคกินไม่หยุด

อาจส่งผลให้คุณ มีปัญหาสุขภาพ หรือ เป็นโรคร้ายแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนี้

 

  • ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วน

การที่คุณกินไม่หยุด ย่อมส่งผลให้คุณน้ำหนักขึ้นได้ไม่ยาก

ผู้ป่วยโรคกินไม่หยุด ส่วนใหญ่มักมีปัญหาน้ำหนักเกิน

เพราะกินอาหารปริมาณมาก ติดต่อกันบ่อยๆ

ในระยะเวลาอันสั้น และ มักไม่ค่อยออกกำลังกาย

จนสุดท้ายกลายเป็นโรคอ้วน

 

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคกินไม่หยุด ทำให้คุณกินเยอะ จนน้ำหนักเกิน

หัวใจจึงสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงปอดและอวัยวะส่วนต่างๆ

ในร่างกายได้ยากขึ้น เมื่อคุณอ้วน มีไขมันเยอะ

โดยเฉพาะไขมันในช่องท้อง หรือ ที่เรียกกันว่า “พุง”

จะทำให้คุณเสี่ยง เป็นโรคความดันโลหิตสูง ภาวะคอเลสเตอรอลสูง

และภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งล้วนแต่เพิ่มความเสี่ยง

ในการเป็นโรคหัวใจ และ หลอดเลือด

เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจวาย

และ โรคหลอดเลือดสมอง

 

 

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้ที่เป็นโรคกินไม่หยุดมีความเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่หายขาด ต้องรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิต

ยิ่งคุณกินไม่หยุดก็จะยิ่งทำให้ควบคุมปริมาณอาหาร

ระดับน้ำตาลในเลือดได้ยาก จึงอาจส่งผล

ให้เป็นโรคบาหวานชนิดที่ 2

และควบคุมอาการของโรคหรือรักษาได้ยากกว่าคนอื่น

  • โรคทางอารมณ์

ผู้ป่วยโรคกินไม่หยุด มักรู้สึกผิด

หรือรู้สึกแย่ กับกับพฤติกรรม การกินของตัวเอง

จนส่งผลให้เป็นโรคทางอารมณ์ หรือโรคทางจิตเวชร้ายแรง

เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล

หรือ บางรายอาจมีพฤติกรรมใช้สารในทางที่ผิด

(Substance abuse) คือ ใช้ยาหรือสารบางอย่างจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย

 

  • ปัญหาสุขภาพอื่นๆ

นอกจากปัญหาสุขภาพข้างต้น

โรคนี้ยังสามารถทำให้ผู้ป่วยมีภาวะคอเลสเตอรอลสูง

เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี

โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งต่อไทรอยด์ รวมไปถึง

ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไข่ไม่ตก

จึงทำให้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้นด้วย

 

 

  อาการและสัญญาณของโรคกินจุกจิก

หากคุณกินเป็นช่วงๆ ในปริมาณที่เยอะกว่าปกติ

และควบคุมตัวเองให้หยุดกินไม่ได้ ร่วมกับมีอาการ

หรือพฤติกรรมดังต่อไปตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป

อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งภายในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา

นั่นหมายถึง คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคกินจิกจุกได้

  • กินเร็วกว่าปกติ
  • กินจนรู้สึกจุก
  • กินอาหารในปริมาณมากแม้จะไม่รู้สึกหิว
  • กินอาหารคนเดียวเพราะอายที่ตัวเองกินเยอะ
  • รู้สึกรังเกียจตัวเอง ซึมเศร้า หรือรู้สึกผิดหลังจากแสดงพฤติกรรมข้างต้น

 

 

 

กินจุกจิกเสี่ยงต่อโรค

กินจุกจิกเป็นปัญหาที่มักพบได้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว

และในตอนนี้สถานการณ์ของโรคโควิด-19 กลับมาอีกแล้ว

ส่วนใหญ่ก็จะกักตัวอยู่บ้าน ยิ่งไม่มีไรทำ ก็ยิ่งกินหนักเข้าไปใหญ่

เราอาจจะทำจนเป็นนิสัยโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ

ว่าการกินแบบนี้ทำให้เราอ้วน การกินอาหารเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากที่สุด

เพราะฉะนั้น เราควรเรียนรู้ว่าพฤติกรรมการกินแบบไหน

ทำให้เราอ้วนและยังส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย

แต่สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มจะหยิบฉวยอาหารเข้าปากก็ควรระวัง

กันด้วยนะคะ อาจจะเสี่ยงต่อโรคกินจุกจิกได้

และเมื่อเรารู้แล้ว เราจะสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขพฤติกรรมเหล่านั้นได้

 

หากเป็นแล้ว ต้องรักษาอย่างไร

การรักษาโรคกินจุกจิก อาจต้องใช้วิธีการรักษาหลายแบบพร้อมกัน ดังนี้

 

  • การบำบัด

เช่น จิตบำบัดความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavioural

Therapy / CBT) ที่ช่วยให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนความคิด

ช่วยให้รู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น เลิกคิดลบ จะได้ไม่นำไปสู่การกินไม่หยุด

 

  • การให้คำปรึกษาเรื่องโภชนาการ

โดยนักกำหนดอาหาร หรือนักโภชนาการ

เพื่อให้ผู้ป่วยกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น

 

  • การใช้ยา

เช่น ยาลดความอยากอาหาร

(appetite suppressants) ยาต้านซึมเศร้า

(antidepressants) ที่สั่งจ่ายโดยแพทย์

ซึ่งอาจช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นและช่วยยับยั้งการกินไม่หยุดได้

 

 

หากถึงขั้นนี้ อย่าปล่อยไว้! ควรรีบไปหาคุณหมอ

โรคกินจุกจิกนี้ถือเป็นโรคที่ไม่ควรมองข้าม

เพราะสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้มากมาย

หากคุณปล่อยปละละเลย อาจเสี่ยงถึงชีวิต

และหากคุณได้มีพฤติกรรมหรืออาการเหล่านี้

ควรรีบไปพบคุณหมอทันที

 

  • น้ำหนักขึ้นลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาสั้นๆ
  • คิดอยากทำร้ายตัวเอง
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินไม่ได้ แม้จะมีครอบครัว เพื่อน หรือคุณหมอช่วยเหลือ
  • รู้สึกซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
  • ต้องจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการใช้ยาหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

หยุดกินจุกจิก คลิก!!

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 5 / 5. Vote count: 1