ภาวะช่องคลอดไม่เปิดในเด็ก

  • Last modified on:2 ปี ago
  • Reading Time:1Minute
  • Post Words:18Words
  • PostView Count:172Views

ภาวะช่องคลอดไม่เปิดในเด็ก

                 โรคช่องคลอดไม่เปิดในเด็ก เป็นโรคที่พ่อแม่มือใหม่หลายๆคนอาจจะต้องพบเจอ ซึ่งเป็นความผิดปกติทางร่างกายของลูกน้อยและอาจทำให้ลูกน้อยเกิดความไม่สบายตัวและไม่สบายในที่สุด ซึ่งข้อมูลใน Social media หรือ website ต่างๆค่อนข้างน้อย วันนี้ สุขภาพดีดี.com ทำการหาข้อมูลมาให้ทุกท่านได้อ่านกันว่า ภาวะช่องคลอดไม่เปิดในเด็ก นั้นเป็นอย่างไร? อันตรายไหม? และต้องแก้ไขอย่างไร? มาให้ทุกคนได้รู้จักกันค่ะ

 

เริ่มต้นกันที่ โรคช่องคลอดไม่เปิดในเด็ก เป็นปัญหาที่เกิดจาก ความผิดปกติของอวัยวะเพศหญิง ในวัยตั้งแต่ 3 เดือน จนถึง 6 ปี เกิดจากการที่มีพังผืดยึดติดระหว่างแคมนอกทั้งสองด้าน ทำให้ช่องคลอดของเด็กปิด หรือไม่มีช่องคลอดให้เห็น ในเด็กส่วนมากมักจะไม่มีอาการอะไรผิดปกติ

แต่สิ่งที่อันตรายจาก ภาวะช่องคลอดไม่เปิดในเด็ก คือการที่ช่องคลอดของเด็กนั้นบดบังรูท่อปัสสาวะและทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และอาจจะทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อปากช่องคลอดและช่องคลอดได้

 

สาเหตุเกิดจากอะไร ? 

สาเหตุหลักเกิดจากการที่เด็กขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน (หรือฮอร์โมนเพศหญิง) คือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่ร่างกายผลิตขึ้นเอง มีหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง แต่เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายของผู้หญิงจะผลิตฮอร์โมนชนิดนี้น้อยลง ทำหน้าที่อะไรในร่างกายผู้หญิงบ้าง มาดูกัน!

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนหลักของผู้หญิง ซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมการมีประจำเดือนและการหมดประจำเดือน
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนรับผิดชอบต่อความหนาของผิว การไหลของเลือด คอลลาเจน และน้ำในผิว ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลที่ “ไม่ดี” (LDL) และเพิ่มระดับของคอเลสเตรอลที่ “ดี” (HDL)
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสามารถส่งผลกระทบต่อการที่ไขมันถูกจัดเก็บในร่างกาย ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นสามารถนำไปสู่การจัดเก็บไขมันมากขึ้นในทั้งผู้ชายและผู้หญิง

 

วิธีการรักษาโรคช่องคลอดไม่เปิดในเด็ก

เบื้องต้นหากไม่มีอาการผิดปกติใดๆกับร่างกาย แพทย์จะทำการพิจารณารักษาตามอาการ ซึ่งวิธีการที่นิยมใช้ในการรักษาคือ ใช้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจนทาบริเวณเนื้อเยื่อที่ปิดช่องคลอด ซึ่งตามปกติทาประมาณ 1-2 สัปดาห์ เนื้อเยื่อดังกล่าวจะเริ่มบางขึ้นและเปิดออกในที่สุด

 

แต่ถ้าหากเกิดความผิดปกติจนเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจะต้องทำการรักษาอย่างเร่งด่วนเนื่องจาก โรคติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก (Urinary Tract Infection for Children) เด็กที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไข้ ร้องกวน หรือมีอาการปวดท้องเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น สีแดงหรือขุ่น ปัสสาวะบ่อย ไม่สุด บางคนมาด้วยอาการเบื่ออาหาร อาเจียน ถ่ายเหลว เมื่อตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติที่ชัดเจน จะทำการเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจโดยการดูด้วยกล้องจุลทรรศน์นับจำนวนเม็ดเลือดขาว และส่งเพาะเชื้อเพื่อทราบชนิดของการติดเชื้อ

หากพบว่ามีความผิดปกติจะทำการรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะ และหากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบทุกรายที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมของระบบทางเดินปัสสาวะโดยอัลตราซาวด์และอื่น ๆ เพื่อดูความผิดปกติทางด้านรูปร่างของไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับเป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อซ้ำ ๆ จนเป็นอันตรายต่อไตในระยะยาวได้ ผู้ปกครองควรพาลูกพบแพทย์หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ เพื่อได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะให้ลูกทานเอง

 

 

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 0 / 5. Vote count: 0