อาหารต้องห้าม สำหรับผู้ป่วย โรคซึมเศร้า

  • Last modified on:3 ปี ago
  • Reading Time:2Minutes
  • Post Words:28Words
  • PostView Count:272Views

อาหารต้องห้าม ผู้ป่วย โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า (Depression)

เป็นโรคทางจิตเวช ที่มีผู้เป็นจำนวนไม่น้อย

โดยที่หลายคน อาจจะยังไม่เข้าใจ หรือ ยังไม่ทราบ

ว่าตัวเองเป็นด้วยซ้ำ ประเด็นคือ โรคนี้ไม่ใช่โรคที่เป็นได้ยาก

เนื่องจากประกอบกันของหลายๆ อย่าง มนุษย์เป็นผู้ที่เสี่ยง

ของการเป็นซึมเศร้าได้มาก จาก Report คนที่มีอาการซึมเศร้า

มีมากกว่าผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดรายปีซะอีก

โดยมากแล้ว คิดว่าเป็นเพราะตนเองคิดมากไป

โดยคนรอบข้างเอง ก็ไม่ได้เข้าใจประเด็นนี้ และ

คิดว่าผู้ป่วยเป็นผู้ที่เครียด หรือ มีเรื่องให้คิดเยอะ

จนเกิดเป็นอาการที่เรียกว่า ซึมเศร้าขึ้น

ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และทันท่วงที

 

โรคซึมเศร้าคือ

ส่วนนึงเป็นความผิดปกติ ของการหลั่งสารเคมีในสมอง

ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์

ทำให้พฤติกรรมของผู้ป่วยเปลี่ยนไป

จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

กลายเป็นคนมองโลกในแง่ลบ เศร้า หม่นหมอง หดหู่

เก็บเนื้อเก็บตัว รู้สึกเบื่อหน่าย กับสิ่งที่เคยสนุก

หรือสบายใจไม่มีความสุข

ซึ่งคนไทยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน

แต่ได้รับการรักษาแค่ครึ่งหนึ่งเท่านั้น

เพราะโดยพื้นฐานแล้ว คนไทย ยังมีความเข้าใจผิด

เกี่ยวกับอาการทางจิตเวช เป็นอย่างมาก

หากวัดใด คุณเข้าพบจิตแพทย์ หรือ

นักจิตวิทยาแล้ว เกิดมีคนรู้เรื่องนี้

จะเป็นการตีความไปว่า เป็นคนบ้าไปซะอีก

แล้วใครจะอยากไป กล้าไปพบกับหมอ หรือ

ผู้เชี่ยวชาญ เพราะคงไม่มีใครอยากถูกตราหน้าว่า

“เป็นคนบ้า”

 

อาการของผู้ป่วยซึมเศร้า

เบื่อไม่อยากทำอะไรอาการของโรคซึมเศร้า

มีอาการดังต่อไปนี้ หรือมากกว่านี้

  1. มีอารมณ์ซึมเศร้าท้อแท้ไม่มีความสุข
  2. หลับยากหรือหลับมากเกินไป
  3. เหนื่อยง่ายไม่ค่อยมีแรง
  4. มองโลกในแง่ลบรู้สึกตัวเองไร้ค่า
  5. ไม่มีสมาธิใจลอย
  6. เชื่องช้าหรือกระสับกระส่ายอยู่ไม่สุข
  7. คิดทำร้ายตัวเองหรืออยากตาย

ต้องมีอาการข้อ 1 หรือ 2 ข้อใดข้อหนึ่ง

ร่วมกับอาการในข้อ 3-9 อย่างน้อย 5 อาการ

ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ซึ่งต้องมีอาการเหล่านี้

อยู่เกือบตลอดเวลา เกือบทุกวันอย่างน้อย 2 สัปดาห์

ควรรีบไปพบแพทย์ ซึ่งหากมีอาการซึมเศร้า

ในระดับรุนแรงอาจจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย

ได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า

โดยจากที่มีการศึกษาล่าสุด พบว่า ผู้ป่วย

ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า มีความเป็นไปได้

ว่าถูกสมอง สั่งการ ให้ฆ่าตัวตาย มากกว่า

ผู้ป่วย ตัดสินใจฆ่าตัวตายเอง เนื่องจาก

สารเคมีในสมองนั้น ทำงานผิดปกติ เรื่องของการสั่งการ

ตามฟังก์ชันเอง ก็ผิดไปด้วย

 

 

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

สาเหตุที่จะกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยก็คือ

การมีทั้งความเสี่ยงทางพันธุกรรม, ทางสภาพจิตใจ,

ประจวบกับการเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ร่วมกันทั้ง 3 ปัจจัย

 

โรคซึมเศร้าเกิดจากความเครียด

แต่ทั้งนี้คนที่ไม่มีญาติเคยป่วยก็อาจเกิดเป็นโรคนี้ได้

มักพบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมี

ที่เซลล์สมองสร้างขึ้น เพื่อรักษาสมดุลของอารมณ์

 

สภาพทางจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดู

ก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงอีกประการหนึ่ง

ต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเช่นกัน

คนที่ขาดความภูมิใจในตนเองมองตนเอง

และโลกที่เขาอยู่ในแง่ลบตลอดเวลา

หรือเครียดง่ายเมื่อเจอกับมรสุมชีวิต

ล้วนทำให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น

 

การเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย

เช่น หากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง

ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น

หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ปรารถนา

ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ากำเริบได้

 

อาหารต้องห้าม สำหรับผู้ป่วย โรคซึมเศร้า

ในยุคสมัยที่เราพบผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากันมากขึ้น นอกจากการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยเข้าใจอาการของตัวเอง รีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้องโดยเร็วแล้ว ยังมีอาหารที่อยากแนะนำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้รับประทาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย

 

การรักษาโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมี “ภูมิคุ้มกัน” สามารถต่อสู้กับปัญหาที่จะย่างกรายเข้ามาได้ดีกว่าเดิม ส่วนใหญ่แล้วการรักษาโรคซึมเศร้า ไม่จำเป็นต้องมานอนรักษาในโรงพยาบาลแต่อย่างไร เมื่ออาการของโรครุนแรง จนอาจมีอันตรายจากการพยายามฆ่าตัวตาย หรือผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา อาจให้การรักษาด้วยไฟฟ้า แต่จะใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น

 

อาหารที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ควรรับประทาน

สำหรับกลุ่มอาหารที่ผู้ป่วยซึมเศร้าไม่ควรรับประทาน

เนื่องจากจะซ้ำเติมอาการป่วยหรือขัดขวาง

การดูดซึมยาที่รักษามี 2 ประเภท และเครื่องดื่มอีก 3 ชนิด

 

ประเภทอาหาร ได้แก่

อาหารที่มีน้ำตาลสูงหวานจัด

เนื่องจากอาหารที่มีน้ำตาลสูง

ร่างกายจะดูดซึมได้เร็วกว่าปกติ

ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว

ทำให้ร่างกายเกิดภาวะเครียด

หากเผชิญเป็นประจำ

อาจจะนำมาสู่อาการหดหู่ซึมเศร้าได้

 

Sugar

 

อาหารประเภทไส้กรอก

และถั่วปากอ้า ซึ่งมีสารไทรามีนสูง

สามารถทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคซึมเศร้า

บางชนิด เช่น ยาเซเลกิลีน (Selegiline)

จะส่งผลให้มีสภาวะความดันโลหิตสูงได้

 

-เครื่องดื่ม 3 ชนิด ที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ไม่ควรดื่มเป็นอย่างยิ่ง คือ

ชา-กาแฟ

เนื่องจากมีปริมาณคาเฟอีนสูง

ทำให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย

หากดื่มเกินกว่า 2 แก้วต่อวัน

จะทำให้ปริมาณคาเฟอีนในร่างกายสูง

ทำให้วิตกกังวล ใจสั่นและเครียดเพิ่มขึ้น

 

 

น้ำอัดลมโดยเฉพาะน้ำอัดลมประเภทสีดำ

เนื่องจากมีทั้งปริมาณคาเฟอีนและน้ำตาลสูง

รวมทั้งน้ำอัดลมประเภทสีดำและไดเอต

มีงานวิจัยจากสถาบันการศึกษาด้านประสาทวิทยา

ในต่างประเทศพบว่า กลุ่มผู้บริโภคเครื่องดื่ม

ที่มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาล 4 กระป๋อง

หรือ 4 แก้วต่อวัน จะมีความเสี่ยง

เกิดโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนปกติ 3 เท่า

ผู้ป่วยซึมเศร้าจึงควรเลี่ยงดื่มจะดีที่สุด

 

น้ำผลไม้บางชนิด

เช่น น้ำในตระกูลส้ม เสาวรส น้ำองุ่นหรือเกรปฟรุต

เป็นต้น อาจทำปฏิกิริยากับยาที่ใช้รักษา

ทำให้ตัวยาไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อการรักษาเท่าที่ควร

 

 

ท้ายที่สุด เราไม่สามารถรักษา หรือ บำบัด

โรคซึมเศร้าได้ด้วยตัวเอง หากเริ่มรู้สึกว่า

ชีวิตของตนเองไม่ปกติ ขาดความสมดุล

มีความเครียดสูง การพบจิตแพทย์ก็เหมือนกับ

การตรวจสุขภาพใจให้เราเข้าใจสภาพจิตใจ

ของตนเองในขณะนั้น  แพทย์จะแนะนำ

วิธีป้องกัน และ ปรับสภาพจิตใจให้ดีขึ้น

ด้วยการปรับวิธีคิด หรือรักษาด้วยการใช้ยา

และรวมไปถึงการกินอาหาร

ว่าอาหารประเภทไหนควรกินหรืออาหารประเภทที่

ไม่ควรกิน เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเอง

 

 

เพราะปัญหาทางด้านจิตใจหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้น

ไม่ใช่มีสาเหตุจากโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว

การพบจิตแพทย์จะช่วยให้เราได้รับการรักษา

อย่างถูกวิธี โรคนี้อย่าปล่อยมองข้ามนะคะ

อันตรายมากๆ หลังจากนี้ทาง “สุขภาพดีดี”

ขอให้ทุกคนหมั่นดูแลตนเองให้มีสุขภาพ

มองโลกในแง่ดี ไม่คิดร้ายกับใคร

ควรหาเวลาออกไปทำกิจกรรมที่สนุกสนาน

ไม่เคร่งเครียดหรือทำงานหนักเกินไป

ด้วยความห่วงใยจากเรา

 

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 0 / 5. Vote count: 0