โรคมองโลกในแง่ร้าย คือ?

  • Last modified on:3 ปี ago
  • Reading Time:2Minutes
  • Post Words:16Words
  • PostView Count:280Views

โรคมองโลกในแง่ร้าย คือ?

            เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันอาจจะทำให้เรารู้สึกเครียด กังวล กับหลากหลายเรื่องในชีวิต ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ทุกคนอาจจะมีมุมมองในการมองโลกที่เปลี่ยนแปลง ตามประสบการณ์ที่เจอ 

 

            ไม่เพียงแต่การมองโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น แต่อาจจะทำให้เรามองโลกในแง่อื่นมากขึ้น เช่น อาจจะมองโลกในแง่ดีมากขึ้น หรือแม้กระทั่งมองโลกในแง่ร้ายมากขึ้นก็ตาม อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับข่าวสาร หรือรับความเครียดอย่างมาก ซึ่งวันนี้ สุขภาพดีดี.com ได้รวบรวมข้อมูลดีๆเกี่ยวกับ โรคมองโลกในแง่ร้าย คืออะไร มาให้ทุกคนได้อ่านและทำความรู้จักกันให้ดียิ่งขึ้นค่ะ

 

            โรคมองโลกในแง่ร้าย มีความสัมพันธ์กับ โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจาก โรค PTSD เป็นสภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างมาก อาทิ ภัยพิบัติ อุทกภัย แผ่นดินไหว การก่อการจราจล การฆาตกรรม สงคราม การปล้นฆ่า ข่มขืน เป็นต้น จนกระทั่งทำให้ตัวบุคคลนั้นเปลี่ยนมุมมองกับเรื่องนั้นๆไปตลอด

 

            ซึ่งคนที่เผชิญอยู่กับเหตุการณ์นั้นๆ รอดชีวิตมาได้ หรือว่าเป็นผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในเหตุการณ์นั้นๆ ทำให้เกิดมีความเครียดทางด้านจิตใจชนิดรุนแรงมาก จนทุกทรมาณ ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่การงานและการใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ ตามมา

 

อาการ

            PTSD อาจมีผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมักแสดงอาการในช่วงเดือนแรกหลังจากเกิดเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ แต่ในบางกรณีอาจเกิดขึ้นหลังจากนั้นหลายเดือนไปจนถึงปี หรืออยู่เกิน 10 ปีก็สามารถเกิดได้เช่นเดียวกัน

  1. ไวต่อสิ่งกระตุ้น เนื่องจากผู้ป่วยอาจแสดงอารมณ์ต่าง ๆ มากเกินไป นอนหลับยาก หงุดหงิด โมโหรุนแรง ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รวมทั้งมีอาการตื่นตัวมากเกินไป รู้สึกหวาดระแวงและตกใจง่าย อาจทำให้เกิดภาวะกายใจไม่สงบได้ ทั้งยังอาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่ทำร้ายสุขภาพตัวเอง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือการขับรถเร็ว เป็นต้น
  2. เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงซ้ำ ๆ ผู้ป่วยอาจเห็นภาพหลอน ฝันร้ายและนึกถึงเหตุการณ์นั้นอยู่เสมอ อาจรู้สึกทุกข์ใจอย่างมากหากถูกสิ่งใดกระตุ้นให้นึกถึงเหตุการณ์
  3. มีความคิดในแง่ลบและมีอารมณ์ขุ่นมัว ผู้ป่วยอาจมีความคิดที่บั่นทอนจิตใจเกี่ยวกับตัวเองหรือผู้อื่น เช่น เกิดความรู้สึกผิด มีความกระวนกระวายใจ ตำหนิตัวเอง รู้สึกอาย รู้สึกสิ้นหวัง
  4. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ผู้ป่วยอาจพยายามหลีกเลี่ยงคนหรือสถานที่ที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์หรือการบาดเจ็บในครั้งนั้น และพยายามไม่คิดหรือไม่พูดถึงเหตุการณ์นั้นอีก บางคนอาจจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้โดยการพยายามไม่รู้สึกอะไรเลย

 

สาเหตุ


            โรคนี้อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกันเช่นเดียวกับภาวะทางจิตใจอื่น ๆ ทั้งปัจจัยทางร่างกายและสภาวะเหตุการณ์ในชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันอย่างการตกงาน การสอบไม่ผ่าน หรือการหย่าร้าง แต่อาจเป็นเหตุการณ์ที่ตึงเครียด น่ากลัว หรือกระทบกระเทือนจิตใจอย่างมาก

  • ปัญหาสุขภาพจิตที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคซึมเศร้า และโรควิตกกังวล เป็นต้น
  • ลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • การทำงานของสมองที่ควบคุมสารเคมีและฮอร์โมนของร่างกายที่ตอบสนองต่อความเครียด
  • เคยเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรง เช่น รถชน เครื่องบินตก เป็นต้น
  • เคยถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง
  • เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือเคยมีคนพยายามล่วงละเมิดทางเพศ
  • เคยถูกลักพาตัว เคยถูกจับเป็นตัวประกัน หรือเคยถูกโจรกรรม
  • มีบุคคลที่ใกล้ชิดบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต หรือเคยพบเห็นคนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เช่น ผู้ที่เคยเป็นเหยื่อหรืออยู่ในเหตุการณ์ฆาตกรรมและอาชญากรรม เป็นต้น
  • เคยผ่านการสู้รบในสงคราม เช่น ทหารผ่านศึก หรือคนที่อยู่ในพื้นที่สงคราม เป็นต้น
  • เคยประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม สึนามิ พายุ แผ่นดินไหว เป็นต้น
  • เคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต

 

การป้องกัน

            PTSD เป็นปัญหาสุขภาพที่ป้องกันได้ยาก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผลมาจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดและควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม อาจดูแลตนเองและเรียนรู้วิธีรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดได้ เพื่อป้องกันการเกิดโรคนี้

  • หลังจากเผชิญสถานการณ์ร้ายแรง ต้องรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ทันที
  • ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา เป็นต้น
  • พูดคุยเปิดใจกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทที่สามารถรับฟังปัญหาได้
  • ฝึกหายใจลึก ๆ ทำสมาธิ เล่นโยคะ หรือนวด เพื่อเป็นการผ่อนคลาย
  • หากสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดกำลังป่วยเป็น PTSD ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาแนวทางในการบำบัดรักษาต่อไป

 

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 0 / 5. Vote count: 0